วัสดุแผ่นของหลังคากันสาด มีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวแปรที่สำคัญสำหรับการขึ้นโครงสร้าง และประโยชน์จากแผ่นหลังคาที่ลูกค้าได้รับ ตลอดจนถึงอายุการใช้งานของวัสดุ แต่ละวัสดุซึ่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป
การเลือก วัสดุหลังคากันสาด
1. วัสดุที่จะนำมาทำโครงสร้าง ต้องเหมาะสมกับตัวบ้าน เช่น เหล็ก และสแตนเลส
2. ต้องมีความสวยงาม
3. ทนต่อทุกสภาวะอากาศ ตัววัสดุแผ่นต้องทนทาน
4. ราคาเหมาะสมกับงบประมาณ ที่ตั้งไว้
5. แผ่นวัสดุต้องไม่แตกหักง่าย
6. การเลือกแผ่นโปร่งแสง และทึบแสง ต้องให้เหมาะกับความต้องการในด้านพื้นที่ใช้สอย
7. ติดตั้งง่าย
8. มีรับประกัน การันตี ตัวแผ่นหลังคา นั้นๆ
วัสดุหลังคาโรงรถแบบโปร่งแสง
วัสดุที่ใช้สำหรับทำหลังคาหรือกันสาดสำหรับโรงรถนั้น นอกจากวัสดุแบบทึบแสงแล้วยังมีวัสดุอีกประเภทหนึ่งที่ในปัจจุบันจัดว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นั่นก็คือวัสดุโปร่งแสงที่มีส่วนผสมของพลาสติกซึ่งข้อดีของวัสดุประเภทนี้นั้นมีอยู่มากมายเช่น แสงแดดสามารถส่องผ่านเพื่อให้ความสว่างได้ ช่วยประหยัดพลังงาน มีน้ำหนักที่เบากว่าทำให้ใช้เวลาไม่นานในการติดตั้ง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายที่ตามมาจึงไม่สูงมาก และหากคิดจะรื้อถอนก็สามารถทำได้ง่ายเช่นกัน วัสดุโปร่งแสงที่พบได้ทั่วๆไปได้แก่ แผ่น Polycarbonate, Fiberglass, Acrylic และ UPVC
1. Polycarbonate (โพลีคาร์บอเนต)
olycarbonate แบบลูกฟูกนิยมเอามาทำเป็นกันสาด
เมื่อกล่าวถึงแผ่น Polycarbonate หรือที่นิยมเรียกกันว่า PC นั้นนอกจากจะมีน้ำหนักที่เบาแล้วยังมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าพลาสติกชนิดอื่นคือทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศร้อนและเย็นจัดได้เป็นอย่างดี สามารถดัดโค้งได้โดยไม่ต้องพึ่งความร้อนเนื่องจากเนื้อวัสดุมีความยืดหยุ่นในตัวสูง แข็งแรงกว่า Acrylic ถึง 20 เท่า และนอกจากความโปร่งแสงแล้วแผ่น PC ส่วนใหญ่ถูกเคลือบผิวด้วยสารดูดซับแสง UV ทำให้มีประสิทธิภาพในการกันความร้อนได้เกือบ 100% ส่วนในเชิงความสวยงามนั้นแผ่น PC เป็นต่อเรื่องสีสันที่มีให้เลือกหลากหลาย เจ้าของบ้านสามารถเพิ่มลูกเล่นให้กับพื้นที่ได้
ความหนาของแผ่น PC นั้นมีตั้งแต่ 4-10 มม. แต่สำหรับการเลือกใช้สำหรับการงานภายนอกนั้นควรจะใช้ความหนาที่ 8-10 มม. เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานที่ยาวนานทนทาน ข้อควรทราบเกี่ยวกับแผ่น PC ก็คือความสามารถในการยืดและหดตัวตามสภาพอากาศของตัววัสดุ การยึดด้วยสกรูแบบถาวรจึงไม่ใช่ทางเลือกอย่างแน่นอนเพราะจะทำให้เกิดการแตกร้าวตามมา วิธีการยึดแผ่น PC กับโครงสร้างที่ถูกต้องนั้นจึงพิเศษกว่าใครเพราะต้องยึดโดยใช้แรงบีบของยางกันน้ำ และจำเป็นที่จะต้องมีช่องว่างเผื่อการขยายตัว
หลายๆคนถามถึงข้อเสียของแผ่น PC ซึ่งข้อเสียแรกก็คงจะหนีไม่พ้นการที่ตัวแผ่นนั้นมีลักษณะแบบลูกฟูกซึ่งเต็มไปด้วยโพรงอากาศทำให้สามารถเก็บกักความชื้นได้ ส่งผลให้เกิดไอน้ำ ตะไคร่ และความขุ่นมัวภายในช่องว่างของตัววัสดุ ดูไม่สวยงาม และไม่เหมาะอย่างยิ่งกับการนำไปมุงเป็นหลังคาหลักของบ้าน ส่วนเรื่องที่สองก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,200-2,400 บาทต่อตารางเมตรไม่รวมติดตั้ง คุณภาพของแผ่น PC และวัสดุของโครงที่ใช้ก็มีผล โดยโครงสเตนเลสจะมีราคาสูงกว่าโครงเหล็ก อย่างไรก็ตามถ้าไม่นับข้อเสียเหล่านี้ Polycarbonate จัดได้ว่าเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆเลยทีเดียว
นวัตกรรมที่นำเอาใยแก้วและโพลีเอสเตอร์เรซินชนิดพิเศษมาเป็นวัตถุดิบของการผลิตหลังคาชนิดโปร่งแสงเพื่อยืดอายุการใช้งานและเพิ่มความแข็งแรง ส่วนผสมของใยแก้วช่วยเพิ่มความเหนียว ทำให้แผ่นวัสดุมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นขึ้น สามารถทำการดัดโค้งได้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาหลังคา fiberglass ให้มีรูปทรงเดียวกับหลังคาแบบทึบแสงหลายๆรุ่น มีทั้งแผ่นลอนและเรียบเพื่อที่จะสามารถใช้ร่วมกันในกรณีที่ต้องการแสงสว่างเฉพาะบางพื้นที่ ส่วนในกรณีพื้นที่ต่อเติมที่ต้องการใช้วัสดุโปร่งแสงทั้งหมดนั้นก็สามารถใช้ลอนกันสาดซึ่งปกติจะมีความหนา 1.2 มม. หน้ากว้างอยู่ที่ 1.05 เมตร มีความยาวให้เลือกตั้งแต่ 3,6,12 เมตร อีกทั้งยังสามารถดัดโค้งได้ไว้เป็นตัวเลือก หลังจากผ่านการใช้งานไประยะหนึ่งหลังคา Fiberglass จะไม่มีปัญหาเรื่องขุ่นมัวเพราะจะมีสารเคลือบป้องกันรังสี UV อีกทั้งตัวแผ่นของวัสดุนั้นมีลักษณะเป็นแผ่นตันทำให้โอกาสที่ความชื้นจะผ่านเข้าไปในเนื้อวัสดุนั้นทำได้ไม่ง่ายทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องตะไคร่หรือเชื้อรา และยังมีสีที่ค่อนข้างหลากหลายให้เลือกซึ่งปริมาณของแสงที่ผ่านแต่ละสีก็จะไม่เท่ากัน โดยแผ่นสีส้มจะเป็นสีที่แสงสามารถลอดผ่านได้มากที่สุดและน้อยที่สุดจะเป็นสีชา นอกจากนี้ยังมีสีขาวขุ่น สีฟ้าน้ำทะเล และสีน้ำเงินอีกด้วย ราคาของหลังคา Fiberglass เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 900 บาทต่อตารางเมตรซึ่งจัดว่าถูกกว่าแผ่น Polycarbonate เกือบครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว ในเชิงติดตั้งการขยายตัวของ Fiberglass ถ้าเทียบกับแผ่น Polycarbonate แล้วมีการขยายตัวที่ต่ำกว่าถึง 2 เท่าจึงทำให้การติดตั้งนั้นทำได้ค่อนข้างง่ายโดยสามารถใช้สกรูเจาะเพื่อยึดติดกับโครงสร้างได้ทุกชนิด อายุการใช้งานนั้นแน่นอนว่าขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดตั้ง สภาพอากาศและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซึ่งก็มีหลากหลายแบรนด์ไว้ให้เจ้าของบ้านได้เลือก ถ้าไม่นับข้อเสียในส่วนของสีที่จะมีการซืดจางและตัวแผ่นที่สามารถมองเห็นเส้นไฟเบอร์ได้ค่อนข้างชัดเจน หลังคา Fiberglass จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของหลังคาโปร่งแสงที่น่าสนใจ
UPVC เป็นชื่อเรียกย่อของ Unplasticized Polyvinyl Chloride เป็น PVC ที่ถูกนำเอาความเป็นพลาสติกออกไป ทำให้มีเนื้อวัสดุที่ไม่ค่อยยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ลักษณะของแผ่น UPVC นั้นมีหน้าตาเหมือนกับแผ่น metal sheet และมีทั้งแบบไม่ผสมสีซึ่งเนื้อจะออกมาเป็นลักษณะสีขาวขุ่นและแบบผสมสี วิธีสังเกต UPVC ที่มีคุณภาพคือจะต้องดูว่าไม่มีรอยบุบรอยแตก เนื้อวัสดุจะต้องเป็นเนื้อเดียวกันและปราศจากฟองอากาศ คุณสมบัติของ UPVC นอกจากจะไม่ดูดซับความชื้นแล้วยังมีค่านำความร้อนที่ค่อนข้างต่ำมากๆ จึงทำให้บริเวณที่ติดตั้งมีอุณหภูมิที่ต่ำ เย็นสบาย ข้อดีอีกอย่างของ PVC คือไม่ต้องกังวลเรื่องเสียงรบกวนเวลาฝนตก เพราะเสียงที่กระทบกับตัววัสดุจะเบามากหากเทียบกับ metal sheet
ตัวแผ่นโดยทั่วไปนั้นมีความกว้างโดยเฉลี่ย 1 เมตร ความหนา 2-2.5 มม. จึงมีน้ำหนักเบาทำให้การติดตั้งหลังคา UPVC นั้นทำได้ไม่ยากและประหยัดในส่วนของโครงสร้างที่ไม่จำเป็นต้องใช้การรองรับมาก สำหรับความยาวนั้นสามารถสั่งผลิตได้ถึง 12 เมตร ส่วนการหดตัวหรือขยายตัวตามสภาพอากาศนั้นพบได้น้อยมากทำให้สามารถยึดติดกับโครงสร้างได้ถาวรโดยใช้อุปกรณ์สกรูที่มีครอบกันน้ำเพื่อที่จะป้องกันการเกิดสนิมและติดตั้งเหมือนการมุงหลังคาทั่วไป ราคาของ UPVC แบบใสจะมีราคาสูงกว่าแบบสีเล็กน้อย โดยราคาไม่รวมติดตั้งนั้นอยู่ที่ตารางเมตรละประมาณ 300 บาท ซึ่งจัดว่าไม่แพงเลยหากเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่นๆ UPVC จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเจ้าของบ้านที่มีงบค่อนข้างจำกัด
ข้อดีของ UPVC นั้นมีมากมาย อย่างไรก็ตามข้อเสียที่ต้องคำนึงถึงก็คือเมื่อผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่งเนื้อสีขาวขุ่นของ UPVC อาจจะเปลี่ยนสีเป็นเหลืองได้ทำให้ดูไม่สวยงาม และอีกประเด็นหนึ่งก็คือปริมาณแสงที่สามารถผ่านตัววัสดุ สำหรับวัสดุสีขาวขุ่นนั้นแสงแดดจะสามารถส่องผ่านได้เพียง 40% เท่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่ไม่ได้รับความสว่างเท่าที่ควร ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของพื้นที่ด้วย
วัสดุแบบโปร่งแสงแต่ละชนิดนั้นต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน แต่อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้หลังคาโปร่งแสงถูกพัฒนาด้านรูปลักษณ์และคุณสมบัติขึ้นกว่าเดิมมาก จึงทำให้เจ้าของบ้านมีตัวเลือกเพิ่มขึ้น ไม่เป็นที่แปลกใจเลยว่าทำไมหลังคาโปร่งแสงถึงเป็นอีกทางเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
วัสดุหลังคา : กันสาดโรงจอดรถแบบทึบแสง
ส่วนต่อเติมที่เจ้าของบ้านเมืองร้อนชื้นแทบทุกหลังมักจะมี คงหนีไม่พ้นกันสาด และหลังคาโรงจอดรถ เพราะเป็นการลงทุนเพื่อประโยชน์การใช้งานที่แสนคุ้มค่า ทั้งช่วยกันร้อนและกัน (ฝน) สาด สมชื่อ แต่วัสดุอะไรที่จะเหมาะสมกับส่วนต่อเติมชิ้นสำคัญนี้ทั้งในเรื่องรูปแบบ ขนาด และคุณสมบัติต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักที่ต้องเบาพอสมควร ลองพิจารณาข้อมูลวัสดุหลังคา และกันสาดที่นิยมใช้กันต่อไปนี้
1. หลังคาเหล็กรีดลอน (Metal Sheet)
เป็นวัสดุยอดนิยมก่อนหน้าที่จะมีวัสดุทางเลือกอื่นพอสมควร เพราะมีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย มีอุปกรณ์ประกอบครบชุด ตัวแผ่นสามารถดัดโค้งได้ มีหลายสีให้เลือกใช้ ราคาสบายๆ ถ้าไม่รวมงานโครงสร้างก็ตกตารางเมตรละไม่เกิน 300-500 บาท ขึ้นอยู่กับมาตรฐานเหล็กด้วย และที่สำคัญสำหรับบ้านสไตล์โมเดิร์น เมทัลชีทตอบโจทย์เรื่ององศาความลาดเอียงของหลังคาน้อยๆ ได้ดีทีเดียว เพราะสามารถสั่งความยาวแผ่นได้ตามความต้องการ จึงไม่มีการต่อแผ่นตามแนวลาดเอียงเหมือนกระเบื้องมุงหลังคาแผ่นสั้นๆ ทั่วไป ซึ่งจำเป็นต้องมีความลาดเอียงพอสมควรเพื่อไม่ให้น้ำฝนไหลย้อนเข้าใต้แผ่นกระเบื้อง
แต่ข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนคือ เสียงดังกลบเสียงทุกอย่างในเวลาที่ฝนตก และเรื่องของความร้อนมหาศาลในเวลากลางวัน จึงทำให้ต้องมี option เสริมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติเรื่องการกันร้อนและกันเสียง แต่ด้วยคุณสมบัติของเหล็กซึ่งรับ และส่งผ่านอุณหภูมิได้ดีมาก ตอนกลางคืนหรือในฤดูหนาว อุณหภูมิใต้หลังคาเมทัลชีทก็เย็นตามเช่นกัน
2. หลังคาไวนิล
ไวนิลเป็นวัสดุที่เราเรียกย่อมาจาก PVC (Poly Vinyl Chloride) เรียกกันอีกแบบว่า Rigid PVC ที่มีจำหน่ายในบ้านเราทุกวันนี้ก็มาจากหลายแหล่งผลิต ซึ่งมีสูตรส่วนผสมที่แตกต่างกันไป แต่โดยรวมแล้วก็มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน เนื้อวัสดุมีลักษณะเป็นโพรงอากาศเล็กๆ จึงมีน้ำหนักเบา และเป็นฉนวน ทนต่อสภาพอากาศได้ดี มีความยืดหยุ่นสูง ดัดโค้งได้ ไม่ติดไฟ รูปแบบหลังคาเป็นแผ่นเรียบ มีความกว้างของแผ่นประมาณ 12.5 ซม. มีความยาวจำกัดที่ 4-6 เมตร หนา 7 มม. นิยมใช้ในงานกันสาด และโรงรถ ยังไม่สามารถนำไปมุงเป็นหลังคาหลักของบ้านได้ เนื่องจากอุปกรณ์ในการติดตั้ง และระบบป้องกันการรั่วซึมยังไม่สมบูรณ์แบบ สังเกตได้จากการติดตั้งเป็นการมุงซ้อนกันเฉพาะด้านข้าง ที่ตัวแผ่นมีรูปแบบที่ทำให้ล็อคกันระหว่างแผ่นได้เลย แต่ยังไม่มีรายละเอียดการซ้อนกันที่หัวและท้ายแผ่น แต่ละแผ่นยึดเข้ากับโครงด้วยสกรู มีสีให้เลือกคือสี ขาว และสีโทนน้ำตาลอ่อน-เข้ม หลังจากติดตั้งแล้วดูเรียบร้อย ทันสมัย เข้ากับบ้านส่วนใหญ่ได้ เรื่องราคาค่อนข้างสูงพอสมควร เฉพาะหลังคาไวนิลอย่างเดียวยังไม่รวมโครง อยู่ที่ประมาณ 1,000-1,200 บาทต่อตารางเมตร เท่าที่มีขายในบ้านเราส่วนใหญ่จะขายพร้อมติดตั้งรวมโครงด้วย โดยเลือกได้ว่าจะใช้โครงเหล็กทาสี หรือสเตนเลส ซึ่งราคาจะอยู่ตารางเมตรละ 2,500-2,900 บาทเลยทีเดียว
3. หลังคา UPVC (Unplastizide Poly Vinyl Chloride)
เป็นคู่แข่งมาแรงของเมทัลชีทก็ว่าได้ เพราะสามารถใช้เป็นหลังคาหลักของบ้าน และเป็นทางเลือกที่น่าจะนำมาใช้เป็นหลังคาโรงจอดรถ และกันสาดด้วย มีลักษณะรูปลอน และหน้ากว้างแผ่นที่ใกล้เคียงกัน ส่วนความยาวแผ่นตอนนี้จำกัดที่ 12 เมตร ซึ่งเป็นเพราะเรื่องการขนส่ง ตัวแผ่นเป็นการประกบกันสามชั้นเหมือนแซนวิส มีไส้ตรงกลางที่เป็นฉนวนกันร้อน เช่น Polymer Foam, Carbon Fiber ผิวของแผ่นมีการเคลือบสี และสารป้องกัน UV จึงใช้งานได้นานเป็นสิบๆ ปี ความหนารวมประมาณ 2-3 มม.
คุณสมบัติอื่นๆ ไม่ต่างจากหลังคาไวนิล ทั้งในเรื่องน้ำหนักเบา และไม่ติดไฟ วิธีการมุงก็เป็นการยึดด้วยสกรูเข้ากับโครงเหล็กเช่นเดียวกับการมุงเมทัลชีท โดยอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ อาจใช้ร่วมกับหลังคาเมทัลชีท เช่น Flashing ที่พับเป็นครอบข้าง หรือ Flashing ที่ใช้กันน้ำในกรณีที่มุงหลังคาชนกับผนังบ้าน นอกจากนี้ ยังมีหลายสีให้เลือกทั้ง ขาว แดง เขียว น้ำเงิน ส่วนราคาไม่สูงเหมือนที่คาดไว้เลย ประมาณ 300-350 บาทต่อตารางเมตรเท่านั้น
สำหรับหลายๆ ท่านที่ต้องการวัสดุมุงหลังคาทำกันสาด หรือโรงจอดรถชนิดเดียวกับหลังคาบ้าน เพราะยังไงก็เข้ากับตัวบ้านแน่ๆ แต่คงต้องพิจารณาเรื่องโครงสร้างในการรับน้ำหนักวัสดุมุงกันอีกที รวมไปถึงรูปทรงที่อาจจะถูกบังคับเนื่องจากข้อกำจัดความลาดเอียงในการมุงด้วย
หลังคากันสาด และโรงจอดรถแบบทึบมีข้อดีที่กันแดดได้มากเป็นที่น่าพอใจแน่นอน แต่อาจต้องแลกกับความทึบ ดูมืดๆ ทึมๆ ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบรูปแบบ การเลือกใช้สี และการจัดแสงในเวลากลางคืน เพื่อให้ส่วนต่อเติมจำเป็นที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาพร้อมกับบ้าน ไม่กลายเป็นส่วนเกินของบ้านเราแทน
แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ VS แผ่นยิปซั่ม
เป็นคำถามยอดฮิตพอสมควรว่าวัสดุทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะการนำไปใช้งานนั้นแทบไม่ต่างกันมากนัก ที่เห็นแน่ๆ คือเอาไปทำผนังเบาและฝ้าเพดาน แล้วจะเลือกใช้อะไรกันดีจึงจะเหมาะสม???… ลองพิจารณาสิ่งที่จะสรุปต่อไปนี้เพื่อเป็นข้อมูลนะคะ
คุณสมบัติโดยทั่วไปของวัสดุทั้งสองชนิดที่ไม่ต่างกันคือเรื่องการเป็นฉนวนที่ดี ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ และไม่ก่อให้เกิดสารพิษ แต่ข้อแตกต่างที่ค่อนข้างชัดเจนคือแผ่นยิปซั่มนั้นจะเหมาะกับงานภายในอาคารมากกว่า ด้วยเหตุผลที่แผ่นยิปซั่มนั้นผลิตจากผงแร่ยิปซั่มอัดแน่นซึ่งมีความเปราะ จึงใช้กระดาษแข็งเป็นตัวประกบแผ่นทั้งสองด้านเพื่อเพิ่มความแข็งแรง หากนำไปใช้งานที่ตากแดดตากฝน เนื้อกระดาษทั้งสองด้านคงไม่สามารถทนได้นานนัก และจะส่งผลให้ผงยิปซั่มที่เป็นไส้กลางร่วนแตกได้ ในขณะที่แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์เป็นวัสดุที่พัฒนามาจากแผ่นซีเมนต์ใยหินในสมัยก่อน แต่เปลี่ยนส่วนผสมจากเส้นใยหินมาเป็นเส้นใยเซลลูโลส ซึ่งมีข้อดีในเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดสารพิษ มีความยืดหยุ่นตัวและมีความเหนียวมากกว่า สามารถทนแดดทนฝนได้เช่นกัน ดังนั้นจึงใช้สำหรับงานภายนอกอาคารได้ นอกจากนี้แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ที่มีความหนามากกว่า 16 มิลลิเมตร ยังสามารถนำมาใช้งานเป็นแผ่นพื้นได้อีกด้วย ในขณะที่แผ่นยิปซั่มไม่สามารถนำมาใช้เป็นแผ่นพื้นได้แม้จะมีความหนาเท่ากันหรือมากกว่าก็ตาม คุณสมบัติเรื่องการใช้งานอีกข้อของแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์คือ สามารถปูกระเบื้องทับบนแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ได้โดยใช้ปูนกาว และยังสามารถฉาบปูนฉาบบาง (Skim Coat) ทับได้ด้วย โดยลักษณะผิวของแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์จะมีสองด้านคือด้านเรียบและด้านหยาบ ซึ่งมีการใช้งานต่างกัน เช่น โดยทั่วไปจะใช้ด้านเรียบของแผ่นเป็นผิวโชว์ แต่หากต้องการปูกระเบื้องทับแนะนำให้ใช้ด้านหยาบจะช่วยเรื่องการยึดเกาะได้ดีกว่า
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายๆ ท่านคงคิดว่าแผ่นยิปซั่มบอร์ดมีคุณสมบัติดีสู้แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ไม่ได้เลย …อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจนะคะ เพราะจริงๆ แล้วแผ่นยิปซั่มมีจุดเด่นที่แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์สู้ไม่ได้นอกเหนือจากราคาและน้ำหนักที่เบากว่า นั่นก็คือความเรียบเนียนของผิวแผ่น แม้กระทั่งบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นก็สามารถฉาบเก็บรอยต่อได้เนียนจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ จึงเหมาะกับงานผนังและฝ้าเพดานตกแต่งภายในบ้านที่ต้องการความเนี้ยบเรียบร้อย อีกทั้งในเรื่องของการตัดแผ่น การซ่อมแซม และการติดตั้งก็ทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่ามากด้วย นอกจากนี้ปัจจุบันผู้ผลิตแผ่นยิปซั่มก็มีการพัฒนาขึ้นมาก โดยเพิ่มคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เช่น การสะท้อนความร้อนสำหรับงานฝ้าเพดานใต้หลังคา การทนความชื้นสำหรับงานฝ้าเพดานในห้องน้ำ การทนไฟสำหรับผนังของอาคารบางประเภท การดูดซับเสียงสำหรับงานผนังและฝ้าเพดานของห้องที่ต้องการเก็บเสียง เป็นต้น
คงพอเห็นภาพกันแล้วนะคะว่าวัสดุทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร และมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องใดบ้าง เลือกใช้ให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และให้ตรงกับความต้องการของแต่ละคน
สเตนเลสคืออะไร?
“สเตนเลส” หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ “เหล็กกล้าไร้สนิม” เป็น ศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกเหล็กใน กลุ่มที่มีความต้าน ทานการกัดกร่อนสูง สเตนเลสเป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน ซึ่งส่วนประกอบจะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ มีโครเมียม เป็นส่วนผสมหลัก ประมาณ 10.5 % หรือมากกว่าทำให้เกิดการสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ (chromium oxide film : CrO2 หรือเรียกว่า passive film)ที่มองไม่เห็นเกาะติด แน่นอยู่ที่ผิวหน้าทำให้เหล็กกล้า มีความต้านทานการกัดกร่อน ฟิลม์ปกป้อง นี้จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่นบนตึกสูง 20 ชั้น ถ้าฟิล์มที่ผิวหน้านั้น ถูกทำลายไม่ว่าจากแรงกล สารเคมี หรือออกซิเจนที่มีอยู่ในบรรยากาศ แม้จำนวนน้อยนิดจะเข้าทำปฏิกิริยากับโครเมียม สร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ทดแทน ขึ้น ใหม่ด้วยตัวมันเอง
สเตนเลส สามารถปรับปรุงคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อนและสมบัติอื่นๆที่ต้องการ ให้สูงขึ้นได้โดยการเพิ่ม ส่วนผสมของโครเมียมและเพิ่ม ธาตุอื่นๆเช่นโมลิบดิบนัม นิกเกิลและไนโตรเจนเข้าไป สเตนเลส มีอยู่มากกว่า 60 ชนิด
ด้วยคุณสมบัติที่ไม่เหมือนใคร เช่น ยากต่อการขึ้นสนิมเมื่อเทียบกับโลหะหรือวัสดุชนิดอื่นๆ ค่าบำรุงรักษาต่ำ ง่ายต่อการเชื่อมและการขึ้นรูป ระยะเวลาการใช้งานคุ้มค่ากับราคา และสามารถนำกลับมาใช้ได้ฝหม่ทั้งหมด จึงทำให้สเตนเลส เป็นโลหะที่ทรงคุณค่า คุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่ไร้ขีด จำกัด
เมื่อทราบถึงคุณสมบัติของสเตนเลสแล้ว การจะตัดสินใจเลือกใช้สเตนเลสควรจะทราบว่าสเตนเลสมีประเภท และแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปสเตนเลสแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ตามโครงสร้างคือ ออสเทนนิติค เฟอร์ริติค ดูเพล็กซ์ มาร์เทนซิติค และเหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก
ตระกูลออสเทนนิติค (Austenitic) หรือที่รู้จักกันใน “ซีรี่ส 300″ ซึ่งประมาณได้ว่า 70เปอร์เซนต์ของการผลิตสเตนเลสในโลกนี้เป็นสเตนเลสตระกูลออสเทนนิติค ที่ประกอบด้วยคาร์บอนอย่างน้อย 0.15 เปอร์เซนต์ มีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อย 16 เปอร์เซนต์ และ นิกเกิล หรือซึ่งช่วยปรับปรุง คุณสมบัติในการขึ้นรูปประกอบและเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน บางเกรดจะมีแมงกานีสผสมอยู่ด้วย โดยทั่วไปจะมีโครเมียน 18 เปอร์เซนต์ นิกเกิ้ล 10 เปอร์เซนตื และมักเรียกกันว่า 18/10 ซึ่งคล้ายกับ 18/0 และ 18/8
ตระกูลเฟอร์ริติค (Ferritic) มีสมบัติดูดแม่เหล็ก มีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักระหว่าง 10.5-27 เปอร์เซนต์ บางเกรดผสมนิกเกิ้ลลงไปเล็กน้อย บางเกรดผสมโมลิบดินัม หรืออลูมิเนียม ไททาเนียม
ตระกูลมาร์เทนซิติค (Martensitic) เป็น ตระกูลที่มีความต้านทานการกัดกร่อนน้อยกว่าออสเทนนิติค และเฟอร์ริติค แต่มีความทนทานและแข็งแรงมากกว่า มีคุณสมบัติดูดแม่เหล็ก โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของโครเมียม 12 -14 เปอร์เซนต์ โมลิบดินัม 0.2-1 เปอร์เซนต์ มีนิกเกิ้ล 0-2 เปอร์เซนต์และมีคาร์บอนผสม อยู่ประมาณ 0.1-1 เปอร์เซนต์ ซึ่งสามารถชุบแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วและอบ คืนตัว โดยทั่วไปจะรู้จักกันใน “ซีรี่ส -00″
ตระกูลดูเพล็กซ์ (Duplex) เนื่องจากมีโครงสร้างผสมระหว่าง โครงสร้างเฟอร์ไรต์และออสตไนต์ จึงทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าออสเทนนิติคและมีความทนทานต่อการกัดกร่อนชนิด รูเข็ม ซอกอับ มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 19 ถึง 28 เปอร์เซนต์ โมลิบดินัมสูงกว่า 5 เปอร์เซนต์ และมีนิกเกิลน้อยกว่าตระกูลออสเทนนิติคใช้งานมากในสภาพแวดล้อมที่มีคลอไรด์ สูง
ตระกูลเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก มีความต้านทานกการกัดกร่อนเทียบเคียงกับตระกูลออสเทนนิติค มีความแข็งแรงมากกว่าตระกูลมาร์เทนซิติค เกรด 17-4H ที่รู้จักกันทั่วไป มีโครเมียมผสมอยู่ 17 เปอร์เซนต์และมีนิกเกิล 4 เปอร์เซนต์ ทองแดง และไนโอเบียม ผสมอยู่ด้วย เนื่องจาก สเตนเลสชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั๊มหัววาล์ว และส่วนประกอบของ อากาศยาน
เพิ่มเติม
* ซีรีส 200 – ตระกูลออสเทนนิติคที่มีส่วนผสมของแมงกานีสสูง
* ซีรีส 300 – ตระกูลออสเทนนิติค
304 – เป็นเกรดในตระกูลออสเทนนิติคที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย บางครั้งเรียก18/8
316 – เป็นเกรดในตระกูลออสเทนนิติคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายรองลงมา ใช้สำหรับเครื่องมือผ่าตัด อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา บางครั้งเรียก “เกรดใต้น้ำ”เพราะ ทนทานการกัดกร่อนแบบคลอไรด์ได้ดี
* ซีรีส 400 – ตระกูลเฟอร์ริติค
* ซีรีส 500 – โลหะที่มีส่วนผสมของโครเมียมและทนความร้อนได้สูง
* ซีร๊ส 600 – ตระกูลมาร์เทนซิติคที่เพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก
630 – รู้จักกันดีใน 17-4 หรือหมายถึงมีส่วนผสมโครเมียม 17 เปอร์เซนต์ นิกเกิ้ล 4 เปอร์เซนต์
การ เลือกใช้วัสดุในการประกอบชิ้นงานสำหรับผู้ประกอบการ ผู้ออกแบบหรือโปรดักซ์ดีไซน์ หรือแม้กระทั่งการนำวัสดุมา ใช้ใน บ้าน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนจะพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียของวัสดุนั้นๆ ลองมาพิจารณาดูกันว่าสเตนเลสดีอย่างไร
ทนทานต่อการกัดกร่อน
สเตนเลส ทุกตระกูลทนทานต่อการกัดกร่อน แต่จะแตกต่างกันไปตามส่วนผสมของโลหะ เช่น เกรดที่มีโลหะผสม ไม่สูง สามารถต้านทาน การกัดกร่อนในบรรยากาศทั่วไป ในขณะที่เกรดที่มีโลหะผสมสูงสามารถต้านทานการกัดกร่อน ในกรด ด่าง สารละลาย บรรยากาศคลอไรด์ ได้เกือบทั้งหมด
ความต้านทานต่ออุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ
สเตนเลส บางเกรดสามารถทนความร้อนหรือ/และความเย็น รวมถึงการเปลี่ยนอุณหภูมิโดยฉับพลันได้ดี และด้วยคุณสมบัติพิเศษในการทนไฟ ทำให้มีการนำสเตนเลสไปใช้ในอุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี อย่างแพร่หลาย
ง่ายต่องานประกอบ หรือแปรรูป
สเตนเลส ส่วนใหญ่สามารถ ตัด เชื่อม ขึ้นรูป ตบแต่งทางกล ลากขึ้นรูป ขึ้นรูปนูนต่ำได้ง่าย ด้วยรูปร่าง สมบัติ และลักษณะต่างๆของสเตนเลสช่วยให้ ผู้ผลิตสามารถนำสเตนเลสไปประกอบกับวัสดุอื่นๆได้ง่าย
ความทนทาน
คุณสมบัติ เด่นอีกประการหนึ่งของสเตนเลสคือความแข็งแกร่งทนทาน สเตนเลสสามารถเพิ่มความแข็งได้ด้วยการขึ้นรูปเย็น ซึ่งใช้เพื่อออกแบบงาน โดยลดความหนา น้ำหนักและราคา สเตนเลสบางเกรดอาจใช้ในงานที่ทนความร้อนและยังคงความ ทนทานสูง
ความสวยงาม
ด้วย รูปทรงและพื้นผิวที่หลากหลายรูปแบบที่สวยงาม ทำความสะอาดได้ง่าย ปัจจุบันสเตนเลสมีสีให้เลือกมากมายด้วย กรรมวิธีชุบเคลือบผิวด้วยเคมี ไฟฟ้าสามารถทำให้สเตนเลสมีผิวสีทอง บรอนซ์ เขียว เงิน และสีดำ ทำให้สามารถเลือก ประยุกต์ใช้สเตนเลสได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ ความเงางามของ สเตนเลสในอ่างล้างจาน อุปกรณ์ประกอบอาหาร หรือ เฟอร์นิเจอร์ทำให้บ้านดูสะอาดและน่าอยู่อีกด้วย
ความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
การ ทำความสะอาด การดูแลรักษาสเตนเลส และมีความเป็นกลางสูงจึงไม่ดูดซึมรสใดๆ เป็นเหตุผลสำคัญที่สเตนเลสถูกนำมาใช้งานในงานโรง พยาบาล เครื่องครัว ด้านโภชนาการและด้านเภสัชกรรม เนื่องจากความทนทาน ต้องการการดูแลรักษาน้อย และค่าใช่จ่ายต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาการใช้ งาน การใช้อุปกรณ์เครื่องครัวสเตนเลสใน บ้านเรือนให้ความรู้สึกถึงความปลอดภัยแก่ผู้ใช้
ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สเตนเลสเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ และกว่า ของวัตถุดีที่ใช้ในการผลิตมาจากเศษเหล็ก
สเตนเลสตระกูลออสเทนนิติค
เป็น สเตนเลสตระกูลที่นำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องครัว เครื่องใช้บนโต๊ะ อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า งานตกแต่งอาคาร งานสถาปัตยกรรม อุปกรณ์ในการผลิตเบียร์ หรือการผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารที่มีสมบัติต้านทานที่เกี่ยวข้องกับ ความสะอาดและสุขศาสตร์อนามัย เช่น เครื่องมือในโรงพยาบาล เวชภัณฑ์ สามารถใช้งานที่อุณหภูมิต่ำติดลบ สำหรับถังเก็บแก๊สเหลวและสามารถใช้งานที่ อุณหภูมิสูง เช่นทำท่อแลกเปลี่ยนอุปกรณ์ความร้อน ทำอุปกรณ์ควบคุมหรือกำจัดมลภาวะ และควันพิษ งานท่อ ถังเก็บ ภาชนะที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมและภาชนะ ความดันที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเหมืองแร่ การผลิตเนื้อเยื่อกระดาษและกระดาษ อุปกรณ์ในตู้โดยสารรถไฟ รถเข็น อาหาร
สเตนเลสตระกูลเฟอร์ริติค
เป็น ตระกูลที่นิยมใช้มากที่สุดในงานอุปกรณ์ตกแต่งในอาคาร เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ช้อนส้อม มีด และเครื่องใช้ในครัว อ่างล้าง อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน งานสถาปัตยกรรม เครื่องถ่ายความร้อนในกระบวนการผลิตและอุปกรณ์เครื่องใช้ในการผลิตอาหารนม แกนและถังปั่นในเครื่องซักผ้าและเครื่องล้างจาน นอกจากนี้สามารถนำไปใช้ในงานเรือเดินสมุทร ทำแผ่นดาดฟ้าเรือ ฝายน้ำล้น โซ่ในงานขนถ่ายสินค้า อุปกรณ์ ดูดฝุ่นและควัน เป็นต้น
สเตนเลตระกูลมาร์เทนซิติค
สามารถ นำไปใช้ในงานที่ต้องการความทนทานและมีความแข็ง เช่น ทำใบมีด เครื่องมือผ่าตัด ตัวยึด กระสวยหรือแกนเพลา หัวฉีด เพลา และสปริง โดยทั่วไปผลิตออกมาในรูปเป็นท่อนแบน แผ่น และงานหล่อ ตัวอย่าง สเตนเลสเกรดมาร์เทนซิติค ทั่วไป
สเตนเลสตระกูลดูเพล็กซ์
นำ ไปใช้ในการทำแผงและท่ออุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ ถังเก็บ และถัง ความดันในบรรยากาศแวดล้อมของคลอไรด์ ที่มีความเข้มข้นสูง ตัวอย่างงานได้แก่ อุปกรณ์ หล่อเย็นด้วยน้ำทะเล การกลั่นน้ำทะเลให้บริโภคได้ อุตสาหกรรม หมักดอง เหมืองฉีดน้ำ อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส
การผสมปูนและอัตราส่วนในการผสมปูนเป็นอย่างไร
สำหรับวิธีผสมปูนด้วยมือ ที่ผมกำลังพูดถึงบางคนอาจนึกแย้งในใจว่า ถ้าไม่ใช้มือผสมแล้วจะใช้อะไรผสมล่ะ? ในที่นี้ผมหมายถึง การผสมปูนโดยใช้แรงคนล้วนๆไม่ได้ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องทุ่นแรงมาช่วย สำหรับช่างมือสมัครเล่นและคนที่ต้องการผสมปูนหรือเทคอนกรีตซ่อมแซมบริเวณต่างๆภายในบ้านเอง หรือ อยากต่อเติมอะไรเล็กๆน้อยๆ เช่น เทคอนกรีตทำม้านั่ง ,หล่อปูนแท่นซิงค์ครัว, เทปูนพื้นปูบล็อกทางเดินรอบบ้าน เป็นต้น
การผสมปูนในที่นี้ยังหมายถึง การผสมที่ต้องมีส่วนผสมของหินเข้าไปด้วย ซึ่งปูนที่เราผสมออกมาโดยมีส่วนผสมของ ปูน+ทราย+หิน จะเรียกว่า “คอนกรีต”
ขั้นตอนวิธีผสมปูนด้วยมือ
1. ตวงส่วนผสมของปูนซีเมนต์กับทราย แล้วเทลงไปรวมกัน
2. ให้ผสมปูนซีเมนต์กับทรายให้เข้ากันเสียก่อน โดยอย่าพึ่งในหินลงไป (เมื่อผสมจนเข้ากันแล้วสังเกตดูจะมองเห็นวัสดุทั้งสองอย่างผสมกันจนออกเป็นสีเทาๆเหมือนปูนซีเมนต์) สาเหตุที่ต้องผสมปูนกับทรายก่อนก็เพราะจะช่วยทุ่นแรงไปได้มาก เพราะถ้าเอาวัสดุทั้งสามอย่างลงไปพร้อมกันแล้วผสมจะต้องใช้แรงเยอะมากเพราะว่าหินจะมีน้ำหนักมาก การที่เราจะผสมวัสดุให้เข้ากันทั้งสามอย่างจึงต้องออกแรงมาก แต่ถ้าผสมปูนกับทรายให้เข้ากันก่อนแล้วค่อยเอาหินใส่ทีหลังจะช่วยทุ่นแรงได้มากและประหยัดเวลากว่า)
3. เมื่อปูนซีเมนต์กับทรายเข้ากันดีแล้ว ก็โกยรวมกันเป็นกอง ใช้จอบตักตรงกลางโกยออกให้เป็นหลุมแล้วใส่น้ำลงไปทิ้งไว้ซักพักหนึ่ง สังเกตดูเมื่อน้ำซึมเข้าไปในเนื้อปูนหมดแล้ว ค่อยเริ่มทำการผสม ช่วงที่ใส่น้ำลงไปและรอให้น้ำซึมเข้าไปในเนื้อปูนก็เอาหินที่เตรียมไว้เทลงไปรอบๆกองปูนที่เราใสน้ำไว้ให้ครบตามอัตราส่วน
4. เมื่อน้ำที่เราใส่ไว้ตรงกลางกองปูนเริ่มซึมหายเข้าไปในเนื้อปูนหมดแล้ว จะมองเห็นปูน (ตรงกลางที่ใส่น้ำ) มีลักษณะเหนียวๆ ก็เริ่มผสมเลย โดยเริ่มผสมจากในหลุมตรงกลางนั่นแหละค่อยๆผสมขยายวงออกมา ให้โกยหินจากรอบๆกองเข้าไปผสมทีละน้อยๆ จากจุดที่เราเริ่มผสมจากตรงกลางก็จะผสมขยายออกมาเรื่อยๆจนหมดกอง
* สาเหตุที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพราะว่า ถ้าเราเอาน้ำใส่ตรงกลางกองปูนแล้วทำการผสมเลย สำหรับมือสมัครเล่นอาจเจอปัญหาน้ำทะลักรั่วออกจากกองปูนที่กำลังผสมอยู่ทำให้น้ำปูนไหลออกไปด้วย จึงต้องใช้เทคนิคปล่อยให้น้ำเริ่มอิ่มตัวซึมเข้าไปในเนื้อปูนก่อน แล้วค่อยทำการผสมจะทำให้ปูนเหนียวไม่ไหลรั่วออกมา และเมื่อผสมจนปูนเหนียวพอสมควรแล้วก็ค่อยกระจากกองปูนออกเพื่อผสมให้ทั่วกอง ในช่วงที่ผสมอยู่นี้หากปูนข้นเกินไปก็เติมน้ำเข้าไปได้ โดยการตักปูนเป็นแอ่งไว้แล้วเทน้ำใส่เข้าไป ต่อจากนั้นก็ค่อยๆผสมกระจากออกมาเหมือนเดิม
ถ้าใช้กระบะผสมก็ง่ายครับ ไม่ต้องกลัวน้ำปูนรั่วออก ทำตามข้อ 1และ 2 เสร็จแล้วก็ใส่น้ำลงไปเลย ตามด้วยหินใส่ให้ครบ เสร็จแล้วพ่อ-แม่-ลูก ก็จับจอบคนละอันร้องเพลงสามัคคีชุมนุมแล้วก็ลงมือ คน-กวน-ผสม เลยครับไม่ต้องเปิดตำราแล้ว ผสมจนเข้ากันดีแล้วก็รีบเอาไปใช้งานให้หมดโดยเร็ว
ควรผสมปูนให้เสร็จโดยใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที
ควรใช้ปูนให้หมด จะเอาไปเทหรือทำอะไรก็แล้วแต่ เทปูนให้เสร็จภายในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มผสม อย่างช้าสุดก็ไม่ควรเกินชั่วโมงครึ่ง
ก็เอาประมาณนี้นะครับเป็นวิธีผสมปูนด้วยมือ แบบทำกันเองสนุกๆในครอบครัวไม่ต้องซีเรียสมาก ทำในส่วนที่ไม่ส่งผลกระทบอะไรมากกับโครงสร้างบ้าน แต่ถ้าซีเรียสก็ไม่ต้องทำเองนะครับจ้างช่างมืออาชีพมาทำให้จะดีกว่า
* รูปที่สองผสมปูนกับทรายใ้ห้เข้ากันก่อน
** รูปที่สามหลังจากปูนกับทรายเข้ากันแล้วก็ใส่น้ำใส่หินได้เลย ไม่ต้องพะวงเรื่องน้ำปูนรั่วเพราะผสมในกระบะ
การผสมคอนกรีตนั้นอาจผสมสมได้หลายวิธี เช่น ผสมด้วยมือธรรมดาด้วยแรงคนโดยใช้พลั่วหรือจอบผสมปูน ผสมด้วยเครื่องผสมคอนกรีตขนาดเล็กซึ่งมีจำหน่ายสำหรับผสมคอนกรีตโดยใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนหม้อผสม หรือเป็นเครื่องผสมคอนกรีตขนาดใหญ่จากโรงงานและบรรทุกมาส่งยังที่ก่อสร้าง ขณะขับรถมาบนถนนโม่ที่ผสมคอนกรีตก็หมุนผสมไปด้วยเพื่อไม่ให้คอนกรีตแข็งตัวเสียก่อน
ส่วนของผสมคอนกรีต
ส่วนผสมของวัสดุต่างๆ ในคอนกรีตเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องระมัดระวังคอนกรีตจะมีสมบัติดีได้นั้นจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับความสะอาดของวัสดุ สมบัติของวัสดุ ชนิดของปูนซิเมนต์ อัตราส่วระหว่างน้ำกับปูนซิเมนต์ เพื่อไม่ให้คอนกรีตข้นหรือเหลวเกินไป การผสมให้วัสดุต่างๆ เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียว อัตราส่วนผสมของวัสดุนั้นอาจใช้ได้ 2 วิธีคือ
1. อัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักของวัสดุผสมชนิดต่างๆ
2. อัตราส่วนผสมโดยปริมาตรของวัสดุของส่วนผสม
สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วๆไปนั้นมีส่วนผสมคือ ปูนซิเมนต์ : ทราย: หินย่อย ซึ่งตวงโดยปริมาตรดังนี้
อัตราส่วน 1: 1 ½: 3 ใช้ในกรณีที่หล่อเสาและส่วนของโครงสร้างอาคารที่ต้องการให้แน่นกับน้ำ
อัตราส่วน 1: 2: 4 ใช้ในกรณีที่ต้องการคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นโครงสร้างทั่วไปเช่น เสา พื้น คาน บันได
อัตราส่วน 1: 3: 5 ใช้ในกรณีที่หล่องานคอนกรีตขนาดใหญ่ เช่น ฐานรากขนาดใหญ่ หรือผนังหนาๆ
การเทคอนกรีตนั้นจะต้องระวังอย่าให้ส่วนแยกออกจากกัน เพราะจะทำให้คอนกรีตเสียกำลัง เช่น ในกรณีที่เทคอนกรีตในระยะที่สูงมาก ๆ อาจทำให้วัสดุผสมแยกตัวกัน ตามปกติในเสาขนาดใหญ่นั้น ถ้าการเทสูงกว่า 2 เมตร จะต้องทำท่อลำเลียงลงไป แต่ในงานขนาดเล็ก เช่น บ้าน ซึ่งเสาขนาดไม่ใหญ่มากและต้องเทเสาสูงเกือบสามเมตร ก็อนุโลมให้เทได้โดยไม่ต้องใช้ท่อ เพื่อให้คอนกรีตแทรกตัวเข้าไปในแบบหล่อได้ทั่วถึงและแน่น ขณะเทจะต้องใช้เครื่องเขย่าคอนกรีตที่เรียกว่า เครื่องสั่น (Vibrator) การใช้เครื่องนี้จะต้องให้สั่นพอสมควร ถ้าสั่นมากจะทำให้น้ำปูนลอยขึ้นมาหน้าผิวคอนกรีต
Product Specification For Roofing & Walling
1) Steel Selection (การเลือกใชเหล็ก)
การเลอืกและการออกแบบโดยใช้ผลติภัณฑ์เหลก็เคลอืบ ZINCALUME® และ Clean COLORBOND® การเลือกผลิตภณัฑใ์หเ้หมาะสมกับสภาวะแวดลอ้มเป็นเรื่องสาํคญั เพื่อที่คุณจะไดม้ั ่ นใจว่าผลิตภณัฑม์ีคุณสมบตัิดงัที่คาดหวงัไว้ และมีอายกุารใชง้านตามตอ้งการ ไม่ใช่แค่เพียงการเลือกชนิดของผลิตภณัฑเ์ท่านั้น แต่ตอ้งแน่ใจว่าผลิตภณัฑห์รือวสัดุที่นาํมาใชร้่วมกันตอ้งมีความเหมาะสมดว้ย ซ่ึงขอ้มูลต่อไปนี้จะช่วยใหคุ้ณสามารถเลือกและระบุใชผ้ลิตภณัฑข์อง บูลสโคป สตีล ไดอ้ย่างถูกตอ้งและเหมาะสม
การเลอืกชนิดเหลก็สําหรับงานหลงัคา มีหลายปัจจยัที่ควรคาํนึงถึงในการเลือกชนิดของผลิตภณัฑเ์หลก็เคลือบ Clean COLORBOND® ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสภาพอากาศ และลกัษณะของกิจกรรมภายในอาคาร ทั้งสองปัจจยันี้นบัว่ามีความสาํคญัเป็นอย่างยิ่ง และเช่นเดียวกับงานหลงัคา ปัจจยัเดียวกันนี้ก็ส่งผลถึงประสิทธิภาพของผนงัเหลก็เช่นเดียวกัน ซ่ึงก็จดัอยู่ในเรื่องของสภาวะแวดลอ้ม ในกรณีของผนงั ปัจจยัที่สาํคญัที่สุดที่ตอ้งระวงัอีกเรื่องก็คือเรื่องของพื้นที่ที่เป็นจุดอบั (Unwashed Area)
ตารางดา้นล่างนี้จะแนะนาํถึงการเลือกใชช้นิดผลิตภณัฑใ์นสภาวะแวดลอ้มใกลท้ะเล
เหลก็เคลือบ ZINCALUME® และ Clean COLORBOND® จะเหมาะสมกับสภาวะแวดลอ้มในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป อย่างไรก ็ ตามเมื่อตอ้งการใชผ้ลิตภณัฑก์ับงานที่มีสารกัมมนัตรังสี, กรด, ด่าง หรือสารเคมีกัดกร่อนอื่นๆ ขอใหต้ิดต่อกับทางบริษทัฯ เพื่อรับคาํแนะนาํในเรื่องการเลือกใชผ้ลิตภณัฑแ์ละสกรูที่เหมาะสมกับงาน ซ่ึงต่อไปนี้คือขอ้แนะนาํคร่าวๆในการนาํไปใชง้าน ทั้งนี้ไม่นบัรวมบางประเภทอาคาร อย่างเช่น ฟาร์มเลี้ยงสตัวแ์ละสระว่ายนํ้าภายในอาคาร
ชนิดของผลติภัณฑ์ทแ่ีนะนําให้ใช้กบังานหลงัคาในบริเวณสภาวะแวดล้อมใกล้ทะเล สภาวะความรุนแรง ค่าโดยประมาณของระยะห่างจากทะเล ผลติภัณฑ์ทแี่นะนําให้ใช้ รุนแรง 100ม.-200 ม. จากชายทะเล < 50 ม. จากชายฝั่งที่คลื่นลมสงบ( เช่น ท่าเรือ) Clean COLORBOND® Ultra steel รุนแรง 200ม.-400 ม. จากชายทะเล หรือ 50 ม.-100ม. จากชายฝั่งที่คลื่นลมสงบ( เช่น ท่าเรือ) Clean COLORBOND® steel หรือ ZINCALUME® steel ไม่รุนแรง > 400 ม. จากชายทะเล หรือ > 100 ม. จากชายฝั่งที่คลื่นลมสงบ( เช่น ท่าเรือ) Clean COLORBOND® steel หรือ ZINCALUME® steel ขั้นเริ่มตน้ > 1000ม. จากชายทะเล หรือ Clean COLORBOND® steel หรือ ZINCALUME®
> 500 ม. จากชายฝั่งที่คลื่นลมสงบ( เช่น ท่าเรือ) steel
หมายเหตุ • ประสิทธิภาพที่สมบูรณ์นั้นยงัขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละพื้นที่ดว้ย อย่างเช่น ความแรงของลม และ พื ้นที่ของหลงัคาที่เป็นจุดอบั (Unwashed Area) ซ่ึงไม่สามารถถูกทาํความสะอาดโดยนํ้าฝนตามธรรมชาติ • ตารางขา้งบนใชก้ับผลิตภณัฑห์ลงัคาเท่านั้น • ตารางขา้งบนใชก้ับงานที่อยู่ในบริเวณใกลท้ะเล สาํหรับการติดตั้งในเขตที่มีความรุนแรงจากอุตสาหกรรมหนกั จาํเป็นที่จะตอ้งปรึกษากับเจา้หนา้ที่ขายของ บูลสโคป สตีล เพื่อรับคาํแนะนาํสาํหรับผลิตภณัฑท์ี่เหมาะสม
การเลอืกชนิดเหลก็สําหรับงานผนัง ในลกัษณะเดียวกับงานหลงัคา ประสิทธิภาพของผนงัเหลก็ก ็ จะขึ ้นอยู่กับปัจจยัหน่ึง ซ่ึงก ็ เป็นเรื่องของสภาวะแวดลอ้ม กรณีของผนงั เรื่องที่เป็นปัจจยัที่สาํคญัที่สุดที่ควรระวงัก็คือพื้นที่ที่เป็นจุดอบั (Unwashed Area)
พนื้ทที่ไี่ม่สามารถชะล้างทาํความสะอาดได้โดยนาํ้ฝน (Unwashed Area) เนื่องจากผนงัเป็นพื้นผิวในแนวตั้ง มนัจึงหลบจากการชะลา้งของนํ้าฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนตกลงมาบนหลงัคาและไหลลงรางระบายนํ้าซ่ึงอยู่ปลายสุดของหลงัคา ในภูมิภาคแถบนี้ สิ่งสกปรกหรือฝนละอองมกัจะถูกชะลา้งออกไปเมื่อเกิดฝนตก แต่ฝ่นุก็จะเกิดการสะสมใหม่ขึ้นมาอีก ซ่ึงเมื่อเวลาผ่านไปพื ้นผิวที่สะสมฝ่นุไปสมัผสักับความชื ้นก ็ จะเป็นสาเหตุใหเ้ก ิดการกัดกร ่อน เมื่อมีการสะสมฝ่นุและความสกปรกร่วมกับเกลือจากทะเล หรือมลภาวะอื่นๆ การกัดกร่อนก็จะยิ่งมากยิ่งขึ้นไปอีก
การออกแบบ การออกแบบอาคารสมยัใหม่ มกัจะรวมเอาชายคาขนาดใหญ่ ระเบียง และทางเดิน ประกอบรวมเป็นส ่วนเดียวกับผนงัอาคารซ่ึงทาํจาก เหลก็เคลือบสีClean COLORBOND® ผอู้อกแบบควรจะเขา้ใจถึงผลกระทบจากการรวมเอาองคป์ระกอบทั้งหลายเขา้ไวด้ว้ยกันในลกัษณะเช่นนี้ เท่าที่พบอย่างนอ้ยก็สององคป์ระกอบในพื้นที่เดียวกัน ซ่ึงเป็นเหตุผลที่ทาํใหต้อ้งเลือกผลิตภณัฑ ์Clean COLORBOND® ที่เหมาะสมสาํหรับการใชง้าน หรือควรตอ้งมีการบาํรุงรักษาอย่างดีตามระยะเวลาที่แน่นอนและเหมาะสมหลงัการใชง้าน
การเลอืกผลติภัณฑ์และการบําร ุงรักษา การเกิดการกัดกร่อนที่สงัเกตพบโดยมากมกัเกิดกับพื้นที่ที่ไม่ถูกชะลา้งโดยนํ้าฝน ซ่ึงตรงจุดนี้อย่างนอ้ยที่สุดก็ควรมีการลา้งทาํความสะอาดดว้ยนํ้าเปล่า สาํหรับตารางที่แสดงไวน้ี้จะชี้ใหเ้ห็นถึงระยะเวลาในการบาํรุงรักษาและการเลือกใชผ้ลิตภณัฑท์ี่เหมาะสมสาํหรับงาน ผนงั
สภาวะความรุนแรง ค่าโดยประมาณของระยะห่างจากทะเล ผลติภัณฑ์ทแี่นะนําให้ใช้ ระยะเวลาข้ันตาํ่สุดในการบํารุงรักษา รุนแรง 100ม.-400 ม. จากชายทะเล 50-100 ม. จากชายฝั่งที่คลื่นลมสงบ( เช่น ท่าเรือที่มีแนวป้องกัน)
Clean COLORBOND® Ultra steel
ลา้งทาํความสะอาดเป็นประจาํทุก 3 เดือน ไม่รุนแรง >400 ม. จากชายทะเล >100ม. จากชายฝั่งที่คลื่นลมสงบ ( เช่น ท่าเรือ) Clean COLORBOND® Ultra steel ลา้งทาํความสะอาดเป็นประจาํทุก 3 เดือน ขั้นเริ่มตน้ >1000 ม. จากชายทะเล Clean COLORBOND® steel ลา้งทาํความสะอาดเป็นประจาํทุก 6 เดือน
หมายเหตุ ตารางนี้เป็นการแนะนาํอย่างกวา้งๆ เท่านั้น สาํหรับขอ้มูลที่มากกว่านี้ สามารถคน้หาไดจ้าก Technical Bulletin บน www.bluescopesteel.com.au/go/tools-and-resources/technicallibrary/technical-bulletins และเนื่องดว้ยความแตกต่างของสภาวะแวดลอ้มในแต่ละพื้นที่ ลูกคา้ควรติดต ่ อกับเจา้หนา้ที่ของทางบริษทัโดยตรงไดท้ี่หมายเลข........เพื่อรับคาํแนะนาํ
2) How to specify our product (กําหนดใชผ้ลิตภณัฑอ์ย่างไร)
การกาํหนดใช้ผลติภัณฑ์ของ บ ูลสโคป สตลี สําหรับงานหลงัคาและผนังเหลก็รีดลอน เมื่อจะระบุรายละเอียดเพื่อใชผ้ลิตภณัฑเ์หลก็เคลือบ ขอ้มูลต่อไปนี ้สามารถนาํไปกําหนดเป็นรายละเอียดวสัดุ เพื่อใหม้ั่นใจไดว้่าผลิตภณัฑท์ี่ชื้อมาหรือนาํไปติดตั้งไวแ้ลว้จะเป็นไปตามที่ตอ้งการ โดยการระบุรายละเอียด วสัดุไวอ้ย่างชดัเจน มาตรฐานที่ใชส้าํหรับโลหะแผ่นเรียบที่นาํมาแปรรูปเป็นหลงัคา Metal sheet คือ AS1397-2001 Steel sheet and strip--Hot-dip zinc-coat or aluminium/zinc-coated AS/NZS 2728:2007 Prefinished/prepainted sheet metal product for interior/exterior building applications-Performance requirements มาตรฐานออสเตรเลยี AS1397-2001 Steel sheet and strip--Hot-dip zinc-coat or aluminium/zinc-coated เป็นมาตรฐานสาํหรับแผ่นเหลก็ที่เคลือบโลหะ (ไม ่ ไดร้ะบุถึงชั ้นเคลือบสี) โดยแบ่งคุณสมบตัิตามที่ตอ้งการดงัต่อไปนี้
ชนิดและปริมาณชั ้นเคลือบโลหะ การระบุชนิดชั ้นเคลือบโลหะบนเหลก็มีอยู ่ 2 ประเภทคือ Z (Zinc-สงักะสี) หรือ AZ (Aluminium/Zincอลูมิเนียม/สงักะสี) และระบุมวลชั้นเคลือบที่นอ้ยที่สุด (โดยนํ้าหนกั) ของการเคลือบทั้ง 2 ดา้นต่อตารางเมตร (กรัม/ตรม.) บนแผ่นเหลก็ ตวัอย่างเช ่น Z350 Z = Zinc สงักะสี 350 = 350 กรัมต่อตารางเมตร เป็นค่าที่วดัไดอ้ย่างนอ้ยที่สุดของนํ้าหนกัมวลเคลือบทั้ง 2 ดา้น AZ150
AZ = Aluminium/Zinc-อลูมิเนียม/สงักะสี 150 = 150 กรัมต่อตารางเมตร เป็นค่าที่วดัไดอ้ย่างนอ้ยที่สุดของนํ้าหนกัมวลเคลือบทั้ง 2 ดา้น
คุณสมบตัิทางกลของเหลก็ ค่ากําลงัรับแรงดึงอย่างนอ้ยสุด ณ จุดคราก (Yield strength) ของเหลก็ ถูกกําหนดไวห้ลงัอกัษร "G" ซ่ึงมีหน ่วยเป็น เมกกะปาสคาล MPa ดงัตวัอย่างเช ่น G300 มีกําลงัรับแรงดึงอย่างนอ้ยสุด ณ จุดคราก (Yield strength) ของเหลก็เท ่ากับ 300 MPa G550 มีกําลงัรับแรงดึงอย่างนอ้ยสุด ณ จุดคราก (Yield strength) ของเหลก็เท ่ากับ 550 MPa
ชั้นความหนาของแผ่นเหลก็ การระบุชั้นความหนาของแผ่นเหลก็มีการแสดงอยู่ 2 ลกัษณะคือ BMT – ย่อมาจาก Base Metal Thickness ซ่ึงเป็นการระบุถึงชั ้นความหนาของชั ้นเหลก็ที่ไม ่ รวมชั ้นเคลือบบนเหลก็ TCT – ย่อมาจาก Total Coated Thickness ซ่ึงเป็นการระบุถึงชั ้นความหนาของชั ้นเหลก็ที่รวมชั ้นเคลือบบนเหลก็เขา้ไปดว้ย โดยปกติการกําหนดค่า TCT จะไม ่ เป็นที่นิยมในการระบุในขอ้กําหนดของวสัดุ ขอ้แนะนาํสาํหรับการระบุชั้นความหนาเพื่อป้องกันความสบัสนมกัจะระบุเป็นชั้น BMT เพียงอย่างเดียว เช่น BMT 0.42 มม., BMT 0.48 มม., BMT 0.60 มม. และจะตอ้งระบุคาํว่า BMT เขา้ไปขอ้กําหนดของวสัดุดว้ยทุกครั้งเพื่อป้องกันความสบัสน วสัดุจากทาง BlueScope Steel (Thailand) Limited สาํหรับใชใ้นกลุ่มนี ้คือ ZINCALUME® STEEL – zinc/aluminium alloy-coated steel sheet ชนิดและปริมาณชั ้นเคลือบโลหะ AZ150 และ AZ200 คุณสมบตัิทางกลของเหลก็ G300 และ G550 ชั้นความหนาของแผ่นเหลก็ BMT 0.25 มม. ถึง 1.0 มม.
มาตรฐานออสเตรเลีย AS1397 ในส ่วนของAppendix D ไดใ้หค้าํแนะนาํสาํหรับการเลือกใชป้ริมาณชั้นเคลือบสงักะสี และ อลูมิเนียม/สงักะสี ในสภาวะทั่วไปดงันี้ Coating class Remarks Z100 A very thin, smooth and ductile coating for higher finishes in internal protected environments, e.g. for refrigerators and dryers (in conjunction with paints) Z200 A light coating for internal protected environments such as ducting and washing machines. Z275 , Z350 General purpose coating Z450 , AZ150 Recommended coatings for typical exterior protection, e.g. roofing and accessories, and cladding. Z600 , AZ200 Heavy duty coatings designed for culverts and box gutters
มาตรฐานออสเตรเลยี AS/NZS 2728:2007 Prefinished/prepainted sheet metal product for interior/exterior building applications-Performance requirements เป็นมาตรฐานที่กําหนดใหม้ีการแจง้ผลการทดสอบต่างๆ ของชั ้นเคลือบสีบนแผ่นเหลก็ เพื่อเป็นขอ้มูลในการเลือกวสัดุไปใชง้านไดอ้ย่างเหมาะสม วสัดุจากทาง BlueScope Steel (Thailand) Limited สาํหรับใชใ้นกลุ่มนี ้คือ Clean COLORBOND® steel – prepainted steel sheet ที่ตรงกับมาตรฐาน AS/NZS 2728:2007 คือ Clean COLORBOND® XRW steel Clean COLORBOND® XPD steel Clean COLORBOND® Ultra steel การเลือกแผ่นเหลก็เคลือบสีนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะการใชง้านดงันี้ Clean COLORBOND® XRW steel สาํหรับหลงัคาและผนงัภายนอกอาคาร นิยมใชก้ับอาคารทั่วไปที่อยู่ในสภาวะการกัดกร่อนไม่สูงมากนกั เช่น ในย่านการคา้ตามเมืองต่างๆ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมทั่วไปที่มีการกัดกร่อนไม่สูง หรือมีระยะห่างจากทะเลไม่นอ้ยกว่า 1000 ม. ขอ้มูลทางกายภาพ เกรดเหลก็ : G300 และ G550 ชั ้นเคลือบโลหะ : Z150 ชั ้นเคลือบสีดา้นบน: ประกอบดว้ยชั้นสี 2 ชั้น ดงันี้ ชั้นสีรองพื้นดา้นบน : เป็นชนิด Epoxy หนา 5 ไมครอน ชั ้นสีเคลือบผิวดา้นบน : เป็นชนิด โพลีเอสเตอร์ (Polyester) หนา 20 ไมครอน ชั้นเคลือบสีดา้นล่าง: ประกอบดว้ยชั้นสี 2 ชั้น ดงันี้ ชั้นสีรองพื้นดา้นล่าง : เป็นชนิด Epoxy หนา 5 ไมครอน ชั้นสีเคลือบผิวดา้นล่าง : เป็นชนิด โพลีเอสเตอร์ (Polyester) หนา 5 ไมครอน (โทนสี Shadow Grey) Clean COLORBOND® XPD steel สาํหรับหลงัคาและผนงัภายนอกอาคาร ที่ตอ้งการใหส้ีสดทนนานเป็นพิเศษ นิยมใชก้ับงานอาคารที่ตอ้งการโชวค์วามสวยงามทางดา้นสถาปัตยกรรมซ่ึงเป็นอาคารที่ตอ้งการแสดงใหเ้ห็นความสว ยงามเป็นเวลานานๆ เช ่น อาคารศูนยป์ระชุม สนามกีฬาแห่งชาติที่โชวร์ูปทรงความสวยงาม ขอ้มูลทางกายภาพ เกรดเหลก็ : G300 และ G550 ชั ้นเคลือบโลหะ : Z150 ชั ้นเคลือบสีดา้นบน: ประกอบดว้ยชั้นสี 2 ชั้น ดงันี้ ชั้นสีรองพื้นดา้นบน : เป็นชนิด โพลียรูีเทน (Polyurethane)หนา 5 ไมครอน ชั ้นสีเคลือบผิวดา้นบน : เป็นชนิด PVDF (PVF2) หนา 20 ไมครอน ชั้นเคลือบสีดา้นล่าง: ประกอบดว้ยชั้นสี 2 ชั้น ดงันี้ ชั้นสีรองพื้นดา้นล่าง : เป็นชนิด Epoxy หนา 5 ไมครอน ชั้นสีเคลือบผิวดา้นล่าง : เป็นชนิด โพลีเอสเตอร์ (Polyester) หนา 5 ไมครอน (โทนสี Snowgum Green)
Clean COLORBOND® Ultra steel สาํหรับอาคารที่มีการกัดกร่อนสูง อาคารในเขตอุตสาหกรรม บริเวณใกลท้ะเล หรือ อาคารที่ตอ้งการใหม้ีอายกุารใชง้านที่ทนทานยาวนาน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ โรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ ่
ขอ้มูลทางกายภาพ เกรดเหลก็ : G300 และ G550 ชั ้นเคลือบโลหะ : Z200 ชั ้นเคลือบสีดา้นบน: ประกอบดว้ยชั้นสี 2 ชั้น ดงันี้ ชั้นสีรองพื้นดา้นบน : เป็นชนิด Epoxy (สูตรพิเศษ) หนา 5 ไมครอน ชั ้นสีเคลือบผิวดา้นบน : เป็นชนิด โพลีเอสเตอร์ (Polyester) หนา 20 ไมครอน ชั้นเคลือบสีดา้นล่าง: ประกอบดว้ยชั้นสี 2 ชั้น ดงันี้ ชั้นสีรองพื้นดา้นล่าง : เป็นชนิด Epoxy (สูตรพิเศษ) หนา 5 ไมครอน ชั้นสีเคลือบผิวดา้นล่าง : เป็นชนิด โพลีเอสเตอร์ (Polyester) หนา 10 ไมครอน (โทนสี Bass Grey) ชื่อของโทนสี Clean COLORBOND® XRW steel, Clean COLORBOND® XPD steel, Clean COLORBOND® Ultra steel ทั้ง 3 ชนิดมีอยู ่ 14 โทนสีคือ 1 Bangkok red, 2 Salmon Orange, 3 Siam Gold, 4 Burnt Almond, 5 Jasper, 6 Dune, 7 Skytone Blue, 8 Cool Blue, 9 Jade Green, 10 Forest Green, 11 Aquamarine, 12 Ocean Blue, 13 Off White, 14 Alloy Grey ซ่ึงดูสีจริงไดจ้ากตวัแทนจาํหน ่ายทั ่ วไปหรือที่ บริษทั บลูสโคป สตีล (ประเทศไทย) จาํกัด
3) How to writing the specification (การระบุรายละเอียดของผลิตภณัฑ์)
จากข้อม ูลท้งัหมดสามารถเขียนข้อกาํหนดวสัด ุ งานหลงัคาและผนัง Metal Sheetได้ดงัตวัอย่างต่อไปนี้ 1. ใชก้ําหนดในงานทั ่ วไปเพื่อไม ่ ใหผ้รู้ับเหมาก ่อสร้างเลือกใชว้สัดุผิดกับที่เจา้ของงานตอ้งการ ตวัอย่างท ี่1 แผ่นหลงัคาเหลก็ตามมาตรฐาน AS1397-2001 และAS/NZS 2728:2007 เป็นชนิด Clean COLORBOND® XRW steel, G550, AZ 150, BMT = 0.48 มม, สี Burnt Almond ตวัอย่างท ี่2 แผ่นหลงัคาเหลก็ตามมาตรฐาน AS1397-2001 เป็นชนิด ZINCALUME® STEEL, G550, AZ 150, BMT = 0.42 มม
2. ใชก้ําหนดในงานทั่วไป เปิดโอกาสใหเ้ลือกใชว้สัดุเทียบเท ่าไดแ้ต่ตอ้งมีมาตรฐานเป็นตวัควบคุม ตวัอย่างท ี่3 แผ่นหลงัคาเหลก็เป็นชนิด Clean COLORBOND® XRW steel, G550, AZ 150, BMT = 0.48 มม, สี Ocean Blue หรือเทียบเท ่าซ่ึงเป็นไปตามมาตรฐาน AS1397-2001 และAS/NZS 2728:2007 ตวัอย่างท ี่4 แผ่นหลงัคาเหลก็เป็นชนิด ZINCALUME® STEEL, G550, AZ 150, BMT = 0.48 มม. หรือเทียบเท ่าซ่ึงเป็นไปตามมาตรฐาน AS1397-2001 3. ใชก้ําหนดในงานทั ่ วไป ไม ่ สามารถใส ่ชื่อผลิตภณัฑไ์ด ้ตอ้งมีมาตรฐานเป็นตวัควบคุม ตวัอย่างท ี่5 แผ่นหลงัคาเหลก็ตามมาตรฐาน AS1397-2001 เป็นชนิด G550, AZ 150, BMT = 0.60 มม โดยมีขอ้กําหนดชั ้นเคลือบสีดงันี ้ ชั ้นเคลือบสีดา้นบน: ประกอบดว้ยชั้นสี 2 ชั้น ดงันี้ ชั้นสีรองพื้นดา้นบน : เป็นชนิด โพลียรูีเทน (Polyurethane) หนา 5 ไมครอน
ชั ้นสีเคลือบผิวดา้นบน : เป็นชนิด PVDF (PVF2) หนา 20 ไมครอน ชั้นเคลือบสีดา้นล่าง: ประกอบดว้ยชั้นสี 2 ชั้น ดงันี้ ชั้นสีรองพื้นดา้นล่าง : เป็นชนิด Epoxy หนา 5 ไมครอน ชั้นสีเคลือบผิวดา้นล่าง : เป็นชนิด โพลีเอสเตอร์ (Polyester) หนา 5 ไมครอน (โทนสี Snowgum Green)