การติดตั้งหลังคากันสาด และ ระยะเวลาดำเนินการติดตั้ง เป็นสิ่งสำคัญที่ลูกค้าต้องให้ความสำคัญ เพราะจะสามารถกำหนดตารางงานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งทางบริษัทก็ให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน จึงต้องติดตั้งงานให้อยู่ภายใต้กำหนดเวลาตามนัดหมาย พร้อมงานที่ออกมาต้องมีคุณภาพ สวยงาม ตรงตามแบบงานที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด
1. การจัดเตรียมงาน พ่นสีรองพื้นกันสนิม เพื่อคุณภาพ
2. วัดระดับ การขึ้นทำรากฐานโครงสร้างหลังคากันสาด ตามแบบ
3. การเก็บรายละเอียดโครงสร้าง อาทิเช่น รอยเชื่อม รู การเจียชิ้นงานให้เรียบ
4. การเก็บงานสี ตามสีลูกค้าเลือก เพื่อความสวยงาม
5. การมุงแผ่นหลังคา ตามวัสดุที่ลูกค้าเลือก
6. การเก็บรายละเอียดงาน เช่น ปลายแผ่น การเก็บสี และอื่นๆ
7. การส่งมอบงานลูกค้า ให้ลูกค้าตรวจสอบความเรียบร้อย ก่อนรับมอบงานหลังคากันสาด
เทคนิคการมุงหลังคา ลอนคู่
- วางแผ่นหลังคาแผ่นแรกโดยให้ลอนตัวผู้ ติดอยู่ติดหน้าจั่วพร้อมเช็คปลายแผ่นลังคาให้ยื่นไปในแนวรางน้ำอย่างเหมาะสม
- ให้ยึดสกรูทุกๆสันลอนบริเวณแปปลาย และแปเดี่ยว ส่วนแปกลาง ยึดสันลอนเว้นสันลอน
- วางแผ่นหลังคาแผ่นที่ 2 โดยให้ลอนตัวผู้ซ้อนทับลอนตัวเมียของแผ่นแรก
- ใช้คีมหนีบบริเวณซ้อนทับแผ่น เพื่อความแน่นหนาในการยึดสกรู ทั้งหัวแผ่นและปลายแผ่น
- ทำการยึดสกรูบริเวณซ้อนทับกันทุกสันลอน
- ควรเช็คแนวระดับ ทุกๆการติดตั้งแผ่นหลังคาไปได้ประมาณ 10 แผ่น
วิธีการติดตั้งแผ่นครอบข้าง
- เริ่มติดตั้งแผ่นครอบข้างจากปลายแผ่นก่อน โดยยึดสกรูทุกระยะ 50 ซม.
- ยึดสกรูแผ่นปิดครอบด้านมุม กับแป ทุกระยะ 50 ซม.
- วางแผ่นที่ 2 ซ้อนทับกับแผ่นแรก โดยต้องวางซ้อนโดยระยะซ้อนทับ อย่างต่ำ 10 ซม.
- ยึดสกรูบริเวณซ้อนทับ
วิธีการติดแผ่นครอบจั่ว
- ถ้าต้องการพับหัวแผ่นขึ้น ให้พับหัวแผ่นหลังคาขึ้นทั้งสองด้าน ด้วยเครื่องมือหรือคีมดัดเหล็ก
- ติดตั้งแผ่นครอบจั่วแผ่นแรก โดยวางตำแหน่งให้ได้แนวระดับ
- ใช้กรรไกรตัดเหล็ก บากด้านข้างแผ่นปิดครอบให้ได้รูปรอยตัด ตามสันลอนหลังคา
- ยึดสกรูบริเวณสันลอน เว้น สันลอน
ข้อแนะนำในการติดตั้งแผ่นปิดครอบ
- ทำความสะอาดแผ่นบริเวณที่จะซีลซิลิโคนให้สะอาดทั้ง 2 ส่วนแผ่นที่จะซ้อนทับกัน
- ซีลซิลิโคนตามแนวซ้อนทับให้ทั่ว ทั้งแผ่นด้านล่างและแผ่นด้านบน
- ยึดสกรูบริเวณซ้อนทับ
ซ่อมหลังคา เป็นเรื่องน่าหนักใจเพราะไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มตรงไหนดี หากให้นับความสำคัญส่วนต่างๆของบ้าน “หลังคา” ถือว่ามีส่วนสำคัญมากที่สุด เพราะช่วยปกป้องพื้นที่ภายในบ้านจากสภาพอากาศข้างนอก แล้วยังเปรียบเสมือนกับหน้าตาของบ้านอีกด้วย แต่หลังคาที่ทนแดด ทนฝนมาเป็นระยะกว่า 10 ปี ย่อมต้องเสื่อมอายุการใช้งานไปตามกาลเวลา และปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างไม่มีคุณภาพ วัสดุที่นำมาใช้ไม่ได้มาตรฐาน ย่อมส่งปัญหาให้หลังคาเกิดปัญหารั่วซึม เก่า เสื่อมโทรมได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นเจ้าของบ้านจึงต้องหมั่นคอยตรวจเช็คหลังคาบ้านอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบ้านเก่าที่มักเกิดปัญหานี้บ่อย แล้วเมื่อพบปัญหาก็ให้รีบดำเนินการซ่อมแซมทันที หากยิ่งนิ่งนอนใจปล่อยเอาไว้คิดว่าชำรุดเพียงเล็กน้อย เก็บไว้ก่อนค่อยทำ ท้ายสุดแล้วมันก็จะลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ หลังคาบ้านอาจจะชำรุดหนักขึ้น กระทบไปถึงพื้นที่ส่วนอื่นภายในบ้านเสียหายตามไปด้วย แถมยังซ่อมแซมได้ยากมากขึ้น
สาเหตุของหลังคารั่วเกิดขึ้นจากอะไร
กระเบื้องหลังคาเกิดการแตกร้าว สาเหตุจากได้รับแรงกระแทกด้วยบางสิ่งบางอย่าง เช่น ลูกเห็บ หรือกิ่งไม้ ทำให้กระเบื้องมีรอยแตก กระทั่งทะลุเป็นรู อาจทำให้น้ำฝนรั่วซึม รวมทั้งเศษฝุ่นผงจากภายนอกลอยเข้ามาสู่ตัวบ้าน
ปูนที่ใช้สำหรับยึดครอบกระเบื้องแตกหัก หรือซึมน้ำ
อุปกรณ์บนหลังคาเกิดเสื่อมสภาพ หรือโดนสัตว์กัดทำลายให้เกิดความเสียหาย เช่น แผ่นปิดรอยต่อ แผ่นกาวติดครอบสันหลังคา
การติดตั้งไม่ถูกวิธี รวมทั้งอุปกรณ์ที่นำมาใช้ไม่ได้มาตรฐานตั้งแต่ช่วงแรก ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาในระยะยาว
อาการ : สิ่งที่จะเตือนให้เจ้าของบ้านทราบในระยะนี้ คือเสียง เช่น เสียงน้ำไหล หรือเสียงน้ำหยดกระทบกับฝ้าเวลาฝนตก โดยจะเกิดคราบสีน้ำตาลบนฝ้าเล็กน้อย สาเหตุมาจากฝ้าจะดูดซับน้ำที่ไหลงซึมลงมา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาสักพักถึงจะปรากฎคราบออกมาให้เห็น ถึงแม้ว่าคราบนั้นอาจจะดูเล็กน้อยแต่สามารถคาดเดาได้ว่าหลังคาบริเวณนั้นผ่านการรั่วซึมมาได้สักระยะแล้ว แต่ถ้าได้ยินแค่เสียงไม่มีคราบแสดงว่าหลังคาเพิ่งจะเริ่มรั่ว ควรดำเนินการซ่อมแซมในทันที เพราะหากปล่อยเอาไว้จะทำให้ฝ้า เพดาน บวม เสียรูปทรง ทะลุลงมาได้ เนื่องจากฝ้าพวกนี้มักจะทำมาจากแผ่นยิปซั่มจึงไม่ค่อยทนกับน้ำเท่าที่ควร
วิธีการรักษา : ถ้าทราบก่อนในช่วงระยะนี้ถือว่าโชคดีเพราะทรัพย์สินในบ้านยังไม่เสียหายจากน้ำรั่วซึม ดังนั้นให้ว่าจ้างช่างผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจและซ่อมแซมหลังคาตรงจุดที่รั่วซึม โดยอาจจะแค่เปลี่ยนเฉพาะวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหาย หลังจากนั้นก็นำสีมาปิดทับบริเวณคราบน้ำก็ถือว่าเสร็จสิ้น
ระยะที่ 2 ขั้นป่วยลุกลาม
อาการ : ในระยะนี้จะสามารถสังเกตเห็นรอยคราบน้ำที่ฝ้าเพดานได้ชัดเจนขึ้น อันเนื่องมาจากมีน้ำหยดหรือรั่วซึมลงมาเวลาที่ฝนตกแล้วฝ้าเพดานเริ่มซับน้ำไม่อยู่ ยิ่งเกิดคราบน้ำสีเข้มมากเท่าไหร่แสดงว่าฝ้ามีการซับน้ำไว้เยอะ มีความเป็นไปได้ว่าฝ้าใกล้จะทะลุลงมา และอาจทำให้ลุกลามไปส่วนอื่นๆได้ สำหรับบ้านไหนที่ไม่พบคราบน้ำแต่กลับพบว่าเฟอร์นิเจอร์เกิดการบวม มีกลิ่นอับชื้น และเชื้อราขึ้น เป็นไปได้ว่าหลังคาเกิดการรั่วซึมในบริเวณที่ติดตั้งของเฟอร์นิเจอร์นั้น หรือบางบ้านอาจเจอปัญหาดวงไฟดับเป็นบางดวง คาดว่าเป็นเพราะมีน้ำซึมเข้าไปโดนบริเวณหลอดไฟแล้วเกิดการลัดวงจรขึ้นส่งผลให้ไฟดับ นอกจากนั้นถ้าฝ้าเพดานทะลุร่วงหล่นลงมา ทำให้พื้นไม้และอุปกรณ์ต่างๆเกิดความเสียหาย พร้อมกับต้องเสียเงินค่าซ่อมแซมอีกต่างหาก
วิธีการรักษา : ช่วงที่ฝนตกสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการใช้ภาชนะหรือแผ่นยางเพื่อรองรับน้ำ แล้วควรรีบแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างอย่างเร่งด่วน โดยการติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาทำการสำรวจและซ่อมแซมหลังคาที่เกิดการรั่วซึมในทันที อีกทั้งควรใช้ช่างที่มีประสบการณ์ ซ่อมครั้งเดียว เพราะถ้าซ่อมไม่ดีปัญหารั่วซึมก็ยังคงไม่หมดไปอย่างแน่นอน
ระยะที่ 3 ระยะสุดท้าย
อาการ : เปรียบกับสุขภาพของมนุษย์ระยะนี้ถือได้ว่าสาหัสมากที่สุด เพราะฝ้าเพดานอาจถึงขั้นทะลุจนเป็นโพรงเกิดคราบน้ำสีน้ำตาลเข้มชัดเจนในหลายตำแหน่ง และไหลลงมาตามผนัง ซึ่งบ่งบอกได้ว่าปัญหารั่วซึมสะสมมาเป็นเวลานานนับปี เวลาฝนตกจะเกิดน้ำนองไปทั่วทั้งบริเวณบ้าน อาจมีสิ่งสกปรกมาพร้อมกับน้ำฝนรวมทั้งมีสัตว์ เช่น หนู งู นก กระรอก แอบเข้ามาซ่อนตัวอยู่ใต้หลังคา
วิธีการรักษา : แก้ไขปัญหาด้วยการปิดรูที่รั่วเสียก่อนด้วยการนำผ้าใบปิดหรือแผ่นยางอุด พร้อมกับเตรียมภาชนะมารองรับน้ำ หลังจากนั้นก็ให้รีบจ้างช่างมาซ่อมหลังคาและเปลี่ยนฝ้าเพดานอย่างเร่งด่วน ในบางกรณีที่เสียหายหลายจุด ต้องดำเนินการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา และอุปกรณ์อื่นๆที่ชำรุดไปพร้อมกันเลยทีเดียว
หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่าหลังคารั่วมักเกิดปัญหาตามมามากมายกว่าที่คิดยิ่งนัก ถึงแม้ว่าในช่วงแรกเหมือนจะไม่กระทบกับชีวิตประจำวันมากนัก แต่หากปล่อยทิ้งไว้จนกลายเป็นปัญหาลุกลามใหญ่โต ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น แถมยังเสียเวลาไปโดยไม่จำเป็น ฉะนั้นจึงไม่ควรปล่อยปละละเลยโดยเด็ดขาด เมื่อตรวจพบปัญหาระยะใดก็ตามแต่ควรรีบแก้ไขในทันที จะได้ช่วยเซฟเรื่องของค่าใช้จ่ายและทำให้บ้านไมผุพังไปก่อนกาลเวลา
1.ความล่าช้ากว่ากำหนดการที่ตั้งไว้
รีโนเวทบ้านเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก โดยเฉพาะงานที่ต้องปรับปรุงบ้านทั้งหลัง ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนก่อนที่จะเริ่มลงมือ เริ่มจากงานสำรวจบ้านเพื่อจัดทำผังพื้นเดิม ผังโครงสร้างเดิม รวมไปถึงผังงานระบบไฟฟ้า งานประปาและงานสุขาภิบาลเดิมก่อน จึงมาเข้าสู่กระบวนการขั้นตอนการออกแบบอย่างละเอียด แต่ในความเป็นจริงพอมาถึงกระบวนการก่อสร้างก็อาจจะต้องพบกับปัญหาหน้างานที่ควบคุมไม่ได้ ส่งผลให้ต้องมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้งจึงทำให้เวลาในการก่อสร้างล่าช้าออกไปได้เช่นกัน (โดยประมาณอาจจะนานกว่าระยะเวลาที่วางแผนไว้ประมาณ 10-20% ได้)
2.งานงอกขึ้นมาอย่างที่คาดไม่ถึง
เวลาที่ต้องมีงานรื้อถอนส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็น พื้น ผนัง ฝ้าเพดาน และส่วนหลังคา เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการซ่อมหรือรีโนเวทให้ได้ตามแบบที่ตั้งใจ แต่ส่วนมากพอรื้อตรงส่วนไหนก็มักจะพบปัญหาที่ต้องมาซ่อมแซมแก้ไขตามมาเสมอตลอด ทั้งส่วนของโครงสร้าง งานตกแต่ง และระบบงานต่างๆรวมถึงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ย้ายตู้เสื้อผ้าตำแหน่งเดิมที่วางทับบนพื้นไม้ไว้ออกกลับพบว่าโดนปลวกทำลาย, รื้อเพดานบริเวณใต้พื้นห้องน้ำชั้นบนแล้วเจอคอนกรีตแตกกระเทาะจนเห็นเหล็กเสริมข้างใน หรือ สกัดผนังโดนท่อน้ำที่ฝังไว้จึงทำให้ท่อแตก ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนมีผลต่อระยะเวลาในการทำงานที่ต้องยืดเยื้ออกไป ยังไม่นับเรื่องงบประมาณที่เพิ่มขึ้นทั้งค่าวัสดุและค่าแรง และถ้าหากต้องไปเช่าบ้านเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อเก็บของชั่วคราวก็จะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายเข้าไปอีก
3.งบประมาณบานปลาย
นอกจากจะเจอเรื่องงานที่เพิ่มขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจแล้ว ยังต้องมาเจองบประมาณค่าวัสดุต่างๆที่เพิ่มสเป็คให้ดีกว่าเดิม (เพราะเจ้าของบ้านส่วนใหญ่ต้องเลือกอุปกรณ์ที่ทันสมัยและดีกว่าเดิมสำหรับการก่อสร้างบ้านใหม่)จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้งบประมาณบานปลายได้ด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นแล้วเจ้าของบ้านอาจจะต้องกะงบประมาณไว้คร่าวๆเพื่อที่จะได้วางแผนการเงินได้ เช่น
งบประมาณค่าก่อสร้าง (ค่าวัสดุ+ค่าแรง) เมื่อลองนำมามาเทียบกับกรณีการสร้างบ้านใหม่ เช่น งบประมาณค่าก่อสร้างบ้านเดี่ยว 2-3 ชั้น งบประมาณคร่าวๆ จะอยู่ที่ประมาณ 10,600 – 15,000 บ./ตร.ม. โดยแบ่งออกเป็น
งานโครงสร้าง 30-35% ของค่าก่อสร้าง
งานระบบ ประปา ไฟฟ้า ระบายน้ำ 10-15% ของค่าก่อสร้าง
งานด้านสถาปัตย์ตกแต่งและวัสดุปิดผิว 50-60% ของค่าก่อสร้าง แต่งบประมาณตรงนี้สามารถที่จะยืดหยุ่นได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่เลือกใช้
แต่ถ้าเป็นกรณีปรับปรุงบ้านอาจประมาณราคาที่ร้อยละ 60-75% ของงบประมาณสร้างบ้านใหม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่ต้องการจะปรับปรุง อย่างบางบ้านอาจจะปรับปรุงแค่ส่วนของงานตกแต่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างก็อาจจะตัดค่าใช้จ่ายโครงสร้างออกไปได้ เป็นต้น
Tips : หากเป็นงานปรับปรุงเพียงเล็กน้อย เช่น ปรับปรุงห้องน้ำ หรือ ทาสีห้องเพียงห้องเดียว ผู้รับเหมามักจะคำนวนค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบต่อตารางเมตรที่ค่อนข้างสูง จึงไม่สามารถที่จะนำหลักการข้างบนมาคิดได้
ค่าใช้จ่ายที่มีเพิ่มเติมขึ้น (ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะนอกเหนือจากงานก่อสร้าง มักประกอบด้วย)
ค่ารื้อถอน : จะประกอบไปด้วยค่าแรงในการรื้อถอนรวมทั้งขนย้ายเศษวัสดุต่างๆไปทิ้งข้างนอก ซึ่งวัสดุบางส่วนที่รื้อถอนออกมาอาจนำไปขายต่อได้ เช่น ประตูเหล็ก วงกบอะลูมิเนียม เฟอร์นิเจอร์เก่าๆ ในส่วนนี้อาจต้องเพิ่มเติมค่าดำเนินงานขนส่งของเพื่อนำไปขายด้วยเช่นกัน
ค่าเช่าสถานที่ชั่วคราว : ถ้าเป็นการปรับปรุงบ้านทั้งหลังย่อมต้องมีการรื้อถอนบางส่วนออก ยิ่งเป็นงานโครงสร้างด้วยแล้ว ทำให้เจ้าของบ้านหลายคนนิยมที่จะขนย้ายข้าวของไปไว้ในพื้นที่อื่นๆก่อน บางบ้านอาจอยู่อาศัยไม่ได้ก็ต้องไปเช่าที่อื่นอยู่ชั่วคราวจนกว่างานก่อสร้างจะเสร็จเรียบร้อย ซึ่งนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย
ค่าจ้างงานออกแบบและวิศวกร : วัตถุประสงค์ของการรีโนเวทบ้านใหม่ก็เพื่อปรับปรุงให้บ้านสวยงาม ทันสมัยมากขึ้น เหมาะสมกับการใช้งานจริงๆ บางครั้งต้องพึ่งพานักออกแบบให้ช่วยในส่วนนี้ และถ้าเป็นโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น (เช่นเปลี่ยนส่วนของหลังคาใหม่) หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเดิม ยิ่งต้องอาศัยวิศวกรให้เข้ามาช่วยตรวจสอบในเรื่องนี้ เพื่อความปลอดภัยในการรื้อถอนและการอยู่อาศัยในอนาคต
4.วัสดุไม่เหมือนเดิม
บางครั้งการซ่อมหรือรีโนเวทก็อาจจะไม่ได้เลือกใช้วัสดุใหม่ทั้งหมด บางส่วนยังคงใช้วัสดุเดิมได้ แต่มีบางส่วนที่ได้รับความเสียหายจำเป็นต้องหามาทดแทน ซึ่งปัจจุบันไม่มีจำหน่ายแล้วทำให้ส่งผลต้องเปลี่ยนแนวทางปรับปรุงใหม่ ฉะนั้นจึงควรต้องประเมินตั้งแต่ต้นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงไหน และสามารถหาซื้อมาทดแทนได้หรือไม่ ถ้าหาแบบทีเหมือนไม่ได้ก็ต้องหาที่มีโทนสีหรือเฉดสีที่ใกล้เคียงของเดิมแล้วหาวัสดุใหม่มาทดแทน ทั้งนี้ต้องดูความเหมาะสมของการออกแบบ การใช้งานเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจด้วย จากข้อมูลที่นำเสนอในข้างต้นจะเห็นว่าการ รีโนเวทหรือปรับปรุงบ้านอาจจะดูเหมือนยุ่งยาก แต่ถ้าเราเตรียมความพร้อมรับมือไว้อยู่เสมอ ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วย
สีทาบ้าน หลายครั้งก็เป็นปัญหาสำหรับคนวางแผนสร้างบ้านใหม่ เพราะมักมีคำถามคิดไม่ออกว่า ถ้าปูหลังคาสีนี้แล้วจะเลือกทาผนังบ้านสีอะไรดี เพราะว่าไม่มั่นใจว่าหากเลือกทาผนังสีนี้จะเข้ากันกับหลังคาที่ปูหรือเปล่า โดยทั่วไปสีหลังคาบ้านที่นิยมกันในประเทศไทยจะมีประมาณ 5 – 7 สี ซึ่งแต่ละสีจะให้ความรู้สึกและอารมณ์แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับความชอบและความเหมาะสมของสไตล์บ้าน เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่ตัดสินใจเลือกสีผนังผิด ไม่เข้ากัน บ้านที่เราใฝ่ฝันว่าจะออกมาสวยงามอาจจะกลายเป็นบ้านที่ดูขัดกัน ไม่น่ามองก็เป็นได้ ดังนั้นวันนี้เราจะนำไอเดียการเลือกสีทาบ้านอย่างไรให้เหมาะกับหลังคาบ้านมาฝากกัน เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการตัดสินใจได้ง่ายขี้น
ก่อนอื่นขอเสนอแนะถึงผู้ที่กำลังคิดจะลงมือสร้างบ้านใหม่ ในส่วนของการเลือกสีทาบ้านนั้น ควรเลือกตั้งแต่ช่วงที่กำลังออกแบบบ้าน เพื่อที่จะได้มองภาพรวมของทั้งสีทาบ้านและหลังคาตั้งแต่ต้นเพราะหากว่าไม่ชอบจะได้แก้ไขได้ทันก่อนที่จะทาจริงๆไปเสียก่อน โดยยึดกฎง่าย 3 ประการคือ
เลือกเฉดสีบ้านให้กลมกลืนกับหลังคา
เลือกสีที่ตัดกัน
เลือกสีที่ผสมกันหลากเฉด
1.หลังคาบ้านสีแดง
ถึงแม้ว่าหลังคาบ้านสีแดงจะเป็นโทนสีร้อน แต่เป็นสีหลลังคาที่ได้ความนิยมอันดับต้นๆของบ้านอยู่อาศัย ด้วยเหตุที่ว่าสีแดงจะดูโดดเด่นมีพลัง แถมหลังคาสีแดงยังสามารถเข้ากับตัวบ้านหลายสี โดยเฉพาะสีขาว, ครีม, สีเทาอ่อน-เข้ม, สีน้ำตาลอ่อน หรือ สีเหลือง พลาสเทล แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบความแตกต่างไม่เหมือนใครก็ลองทาบ้านสีแดง แล้วตัดกรอบที่บริเวณกรอบหน้าต่างและผนังบางส่วนด้วยสีขาวคล้ายโรงนาสไตลคันทรี่ ก็ทำให้บ้านของเราสวยแปลกไปอีกแบบ ก็ดูสวยน่าสนใจ สำหรับบ้านไทยประยุกต์การใช้หลังคาสีแดงสดก็จะเข้ากันได้ดีกับตัวบ้านไม้ที่ทาสีน้ำตาลเข้ม
2.หลังคาบ้านสีออกเทาดำ
บ้านที่ปูหลังคาด้วยสีเทาดำมักจะแสดงออกให้เห็นถึงความมีรสนิยม เรียบหรู ดูโมเดิร์น แต่ก็แฝงไปด้วยความรู้สึกอบอุ่น ความเข้มของหลังคาสีเทาดำทำให้สามารถเข้ากับสีทาบ้านทุกเฉดสี อย่างเช่นบ้านสไตล์ลอฟท์ผนังคอนกรีตสีเทา, บ้านคอทเทจสีพาสเทล ตัดกรอบบ้านด้วยสีขาว จะยิ่งทำให้บ้านดูน่ารัก อ่อนโยน มากขึ้น หรือจะเลือกเป็นชุดสีครีม-น้ำตาลอ่อน-เทา ก็จะทำให้บ้านดูอบอุ่น หากอยากได้บ้านที่เป็นอารมณ์คันทรี่ผนังสีฟ้าอ่อน-เทา ตกแต่งด้วยกองฟางเล็กน้อยยิ่งได้อารมณ์สุดๆ
3.หลังคาบ้านสีเทาขาว
สีเทาขาวเป็นตัวแทนแห่งความสะอาด สบายตา และเรียบง่าย ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นสัญลักษณ์ของฤดูหนาว หลังคาบ้านสีนี้นิยมใช้กับบ้านที่เป็นสไตล์โคโลเนียลและวิคตอเรีย ซึ่งจะเข้ากันได้ดีกับตัวบ้านที่ทาสีขาว ครีม ควันบุหรี่ เหลืองไข่อ่อน สีพีช สีฟ้า หรือสีชมพูอมส้มจางๆ ก็จะทำให้บ้านไม่จืดชืดเกินไป ถ้าต้องการเพิ่มลูกเล่นให้กับตัวบ้านลองติดไม้สีธรรมชาติหรือสีน้ำตาลเข้าไปบ้านก็จะดูอบอุ่นขึ้น แต่ถ้าชอบให้บ้านมีความโดเด่นก็ทาสีผนังด้วยสีดำหรือสีเทาเข้ม เมื่อตัดกับหลังคาบ้าน บ้านก็ดูเด่นขึ้นมาทันที
4.หลังคาบ้านสีน้ำตาล หรือสีเปลือกมังคุด
การเลือกใช้หลังคาสีน้ำตาล สามารถบ่งบอกได้ถึงความสง่างาม ที่นอกจากจะสื่ออารมณ์ถึงความเข้มขรึม แต่ยังให้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นธรรมชาติ เจ้าของบ้านบางคนเกรงว่าถ้าใช้สีเป็นโทนสีเข้มยิ่งจะทำให้บ้านดูทึบเข้าไปอีก ในความเป็นจริงแล้วใช้สีเข้มทาบ้านได้ เช่นทาสีแดงเบอร์กันดี สีเหลืองไข่ไก่ หรือเหลืองอมส้มแบบโมร็อคก็ดูมีสไตล์ไปอีกแบบ หรือจะเลือกทาสีอ่อนๆ อย่างขาว ครีม หรือขาวครีม บ้านก็จะดูคลาสิคย้อนยุค สวยเรียบ ดูดี
5.หลังคาบ้านสีน้ำเงิน
ถ้าจะพูดถึงสีหลังคาที่ได้รับความนิยมอีกสี ก็คงไม่พ้นหลังคาสีน้ำเงิน ด้วยโทนสีนี้จะให้ความเย็นสบาย ใช้ได้กับบ้านหลากหลายสไตล์และไม่ดูฉูดฉาดจนเกินไป ลักษณะคล้ายเป็นตัวแทนของท้องฟ้าและทะเล เหมาะกับการทาผนังให้เป็นโทนสีเย็น โดยสีที่สามารถนำมาทาได้อย่างเหมาะสม คือ สีขาว สีฟ้าเข้ม สีเทาหลากเฉด อาทิ สีเทาควันบุหรี่ สีเทาอมฟ้า แต่ถ้าชอบสีที่จะทำให้บรรยากาศภายในบ้านดูอบอุ่นให้ใช้เป็นโทนสีครีม เหลืองอมส้มอ่อนๆ หรือเพิ่มความเข้มอีกนิดด้วยสีน้ำตาลก็จะส่งผลให้บ้านดูขรึมขึ้น
6.หลังคาบ้านสีเขียว
สีเขียวเป็นอีกสีหนึ่งที่เป็นสีแห่งธรรมชาติ เหมาะกับเจ้าของบ้านที่ชอบบ้านสไตล์ไทยประยุกต์ โดยหลังคาสีนี้กับตัวบ้านสีน้ำตาลเข้มจะเปรียบเสมือนกับต้นไม้ที่มีลำต้นแข็งแรงสีน้ำตาลและมีใบไม้สีเขียว แต่ถ้าชอบตกแต่งบ้านสไตล์ Cottage หรือ Vintage ที่ให้ความรู้สึกอ่อนโยน อบอุ่น ให้เลือกเป็นโทนสีเขียวอ่อน สีเทาควันบุหรี่ ตัดด้วยเหลืองหรือสีอิฐบริเวณเสาหรือขอบเส้นของบ้านจะทำให้มีลวดลายเด่นชัดขึ้น
การเลือกสีทาบ้านกับสีหลังคามีความสำคัญต่อกันมาก ดังนั้นการเลือกสีทาบ้านจะต้องใส่รายละเอียดเข้าไป เพื่อให้ภาพรวมของบ้านออกมาดูดีและสวยงามได้บ้านอย่างใจฝัน
1.เลือกจากผลงาน ประสบการณ์และความชำนาญ
จะสร้างบ้านสักหลังแน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้เกิดเรื่องผิดพลาดอย่างแน่นอนดังนั้นการเลือกบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง พร้อมมีตัวอย่างผลงานที่น่าพึงพอใจและสร้างเสร็จแล้วจำนวนหลายหลัง ก็เป็นเรื่องที่สามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับเราได้ว่าจะสามารถรับผิดชอบดูแลสร้างบ้านของเราให้ออกมาดีตามที่เราคาดหวัง นอกจากนี้ยังควรซุ่มเลือกดูบ้านตวอย่างที่มีลักษณะและราคาคล้ายคลึงกับแบบที่เราต้องการ เพราะถ้าหากบริษัทสามารถทำได้ดี นั่นก้หมายความว่าผู้รับเหมามีประสบการณ์คุ้นเคยกับการรับสร้างบ้านที่ราคานี้อยู่แล้วนั่นเอง
2.เลือกบริษัทที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลถูกต้องตามกฎหมาย
การที่บริษัทมีการจดทะเบียนนิติบุคคลถูกต้องตามกฎหมาย และมีวิศวกรหรือสถาปนิกประจำอยู่ เพราะนอกจากจะมั่นใจได้ว่าทางบริษัทจะไม่ทิ้งงานกลางคันแล้ว ยังมีบุคลากรมืออาชีพที่สามารถสร้างออกมาได้มีคุณภพอีกด้วย
3.เลือกราคาสมเหตุสมผล
แน่นอนว่างบประมาณในการสร้างบ้านของสแต่ละคนไม่เหมือนแต่จะสร้างบ้านทั้งทีก้คงต้องให้คุ้มค่ากับทุกบาททุกสตางค์ที่ต้องเสีย ดังนั้นจึงควรเลือกหลาย ๆ บริษัทเพื่อเปรียบเทียบราคาและคุณภาพ นอกจากนี้ก็ไม่ควรราคาถูกมากเกินไปก็อาจมีการนำของไม่ดีไม่มีมาตรฐานมาสร้างบ้านเราได้ เช่นเดียวกันกับราคาที่สูงเกินไปจนเกินเหตุแบบนี้ก็ไม่ไหว ดังนั้นเราจึงควรเลือกที่ราคากลางดีจึงจะดีที่สุดค่ะ
4.เลือกบริษัทที่มีการทำสัญญาบ้านที่ดีและชัดเจน
การทำสัญญาก่อสร้างนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่คุณจะต้องได้รับและเป็นหลักประกันว่าบ้านจะเสร็จพร้อมสมบูรณ์ตามระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนี้เรายังคสรเลือกสัญญาที่เกลี่ยค่าใช้จ่ายให้เสมอตลอดโครงการ หรือจ่ายยอดสูงในช่วงท้าย เพราะเป็นหลักประกันได้ว่าทางบริษัทจะไม่ทิ้งงานระหว่างการก่อสร้างนั่นเอง